การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานเชื่อมไฟฟ้า มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชา งานเชื่อมไฟฟ้า มัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยแบ่งหัวข้อเป็น 5 หน่วยการเรียน คือ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเชื่อมไฟฟ้า ความปลอดภัยในงานเชื่อมไฟฟ้า ประเภทของรอยต่อในงานเชื่อมไฟฟ้า ท่าเชื่อมที่ใช้ในงานเชื่อมไฟฟ้า วิธีการอาร์คเบื้องต้น ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ตามเกณฑ์ 80 / 80 การทดลองครั้งนี้กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เลือกเรียนรายวิชา งานเชื่อมไฟฟ้า ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2548 จำนวน 30 คน ผู้วิจัยได้ให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองจากบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทุกหน่วยการเรียน จากนั้นผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย วิชา งานเชื่อมไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพดังนี้ หน่วยการเรียนเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเชื่อมไฟฟ้า มีประสิทธิภาพ 89.00 / 92.00 หน่วยการเรียนเรื่องความปลอดภัยในงานเชื่อมไฟฟ้า มีประสิทธิภาพ 81.00 / 85.67 หน่วยการเรียนเรื่องรอยต่อและชนิดของรอยต่อ มีประสิทธิภาพ 86.00 / 93.67 หน่วยการเรียนเรื่องท่าเชื่อมในงานเชื่อมไฟฟ้า มีประสิทธิภาพ 78.00 / 81.67 หน่วยการเรียนเรื่องวิธีการอาร์คเบื้องต้น มีประสิทธิภาพ 94.33 / 91.33 และสรุปทุกหน่วยการเรียนมีประสิทธิภาพ 85.67 / 88.87 คำสำคัญ : คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชางานเชื่อมไฟฟ้า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2007-07-01
Issue
Section
บทความวิจัย