การศึกษากระบวนการเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคนิคการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว กรณีศึกษาการเชื่อมวงจรไฟฟ้าของแผงวงจรไฟฟ้า ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

Authors

  • ชาญยุทธ วิบูลย์เลิศ
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • โอภาส สุขหวาน

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการเพิ่มผลผลิตโดยใช้เทคนิคการศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวโดยให้พนักงานเชื่อมวงจรไฟฟ้าสามารถดูแลจำนวนเครื่องจักรเพิ่มขึ้น..กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานฝ่ายผลิตที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปีที่ผ่านการประเมินและได้รับการรับรองให้สามารถปฏิบัติงานกระบวนการเชื่อมวงจรไฟฟ้าของบริษัท เอ็น เอส อีเล็กโทรนิกส์ จำกัด จำนวน 30 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ แผนภูมิคนและเครื่องจักร คู่มือการปฏิบัติงานกับเครื่องเชื่อมวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติรุ่น เอเอสเอ็ม 309 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานเชื่อมวงจรไฟฟ้ากับเครื่องเชื่อมวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติรุ่น เอเอสเอ็ม 309 ตัวแปรที่ศึกษาคือ ประสิทธิภาพของพนักงานโดยวัดจากเวลาของพนักงานแผนกเชื่อมวงจรไฟฟ้าในการผลิต ผลผลิตจำนวน 1,000 ชิ้น ต่อหน่วยชั่วโมงเมื่อพนักงาน 1 คน ดูแลเครื่องจักร 4 เครื่อง 6 เครื่อง และ 8 เครื่องตามลำดับเพื่อหาอัตราส่วนจำนวนเครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับให้พนักงาน 1 คนดูแล และศึกษาประสิทธิภาพของคู่มือ วิธีการปฏิบัติงานกับเครื่องเชื่อมวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติรุ่น เอเอสเอ็ม 309 โดยการนำอบรมพนักงานแผนกเชื่อมวงจรไฟฟ้าที่ปฏิบัติงานกับเครื่องเชื่อมวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติรุ่น เอเอสเอ็ม 309 ณ. บริษัท เอ็น เอส อีเล็กโทรนิกส์ ผลการวิจัยพบว่า แผนภูมิคนและเครื่องจักร แสดงให้เห็นว่าสามารถเพิ่มอัตราส่วนให้พนักงานเชื่อมวงจรไฟฟ้าดูแลจำนวนเครื่องเชื่อมวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติรุ่น เอเอสเอ็ม 309 เพิ่มขึ้นได้โดยประสิทธิภาพของพนักงานเพิ่มขึ้นและจำนวนร้อยละของผลผลิตดีที่ผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ และพนักงานเชื่อมวงจรไฟฟ้าที่ได้รับการอบรมด้วยคู่มือวิธีการปฏิบัติงานกับเครื่องเชื่อมวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติรุ่น เอเอสเอ็ม 309 มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้ระดับดี คำสำคัญ : กระบวนการเพิ่มผลผลิต การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหว แผงวงจรไฟฟ้า

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ชาญยุทธ วิบูลย์เลิศ

Industrial Education division

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

โอภาส สุขหวาน

Downloads

Published

2007-07-01