การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานีโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Authors

  • แสงเดือน โต๊ะมิ
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • สุรีพร จรุงธนะกิจ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยเชิงปริมาณ และปัจจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งปัจจัยเชิงปริมาณ ประกอบไปด้วย จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา จำนวนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม และปัจจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ความสะดวกทางด้านบริการสังคม ความสะดวกทางด้านสาธารณูปโภค และ ความต้องการโรงเรียนอาชีวศึกษา ผลการวิจัยสรุปว่า ตำบลประชาธิปัตย์เป็นทำเลที่ตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาที่เหมาะสมและมีผลสรุปได้ดังนี้ โดยปัจจัยเชิงปริมาณ คือ จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก =3.7 จำนวนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก =3.6 และจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมผ่านเกณฑ์ระดับดี =2.9 สรุปได้ว่า ผ่านเกณฑ์ทุกปัจจัย ด้านปัจจัยเชิงคุณภาพ คือ ความสะดวกทางด้านบริการสังคมผ่านเกณฑ์ระดับดี =3.1 ความสะดวกทางด้านสาธารณูปโภค ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก =3.7 และความต้องการโรงเรียนอาชีวศึกษาผ่านเกณฑ์ระดับดี =3.1 สรุปได้ว่าผ่านเกณฑ์ทุกปัจจัยในภาพรวมของทุกปัจจัยพบว่าตำบลประชาธิปัตย์ มีค่าเฉลี่ย = 3.35 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D= 0.325 และจากการทดสอบสมมติฐาน (t – test), t = -1.895 ค่า t ที่คำนวณได้ = 2.408 แสดงว่า ค่าที่คำนวณได้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมากที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ว่าทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการก่อตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นทำเล ที่อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก คำสำคัญ : การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งโรงเรีขนอาชีวศึกษา Abstract The purpose of this research was to Applied Geographic Information System Analysis for Vocational School Locate in Pathumthani Province by analyzed quantitative factors and qualitative factors. The quantitative factors are number of people concerning target, number of school concerning target and number of factories. The qualitative factors are social services , social infrastructure , and vocational school need.The result of this research were : The Pachatipat District is the appropriate vocational school location . For the factors of quantitative were : number of people concerning target have arithmetic mean = 3.1 , number of school concerning target arithmetic mean = 3.7 and number of factories arithmetic mean = 3.7 . The qualitative factors were social services arithmetic mean = 3.7, social infrastructure arithmetic mean = 3.6 and vocational school need arithmetic mean = 2.9. The average of arithmetic mean ( ) = 3.35 .The Standard Deviation (S.D)= 0.325 and hypothesis testing (t-test) ,t = -1.895 . The computation of t-test = 2.408 at the significant of 0.05 Keyword : analysis for Vocational School Locate

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

แสงเดือน โต๊ะมิ

Industrial Education division

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

สุรีพร จรุงธนะกิจ

Downloads

Published

2009-01-01