ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการปรับปรุงงานของพนักงานฝ่ายผลิตโดยระบบไคเซ็นกรณีศึกษาโรงงาน นาการช่าง

Authors

  • กุรดิตซิงห์ พุทธราชา
  • ปัญญา ธีระวิทยเลิศ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการปรับปรุงงานของพนักงานฝ่ายการผลิตโดยระบบไคเซ็น กรณีศึกษา โรงงาน นาการช่าง โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 281 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติในการคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยใช้ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ใช้วิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีการรับรู้นโยบายบริษัทในการทำไคเซ็นของพนักงานอยู่ในระดับดี และมีพฤติกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(ไคเซ็น)อยู่ในระดับดี ผลของการศึกษาวิจัยสำหรับตัวแปรต่างๆ เป็นดังนี้ พนักงานที่มีปัจจัยด้านส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา มีการรับรู้นโยบายบริษัทในการทำไคเซ็นของพนักงานของพนักงานฝ่ายการผลิตไม่แตกต่างกัน พนักงานที่มีปัจจัยด้านส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษา มีพฤติกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (ไคเซ็น) ของพนักงานฝ่ายการผลิตไม่แตกต่างกัน และการรับรู้นโยบายบริษัทในการทำไคเซ็นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(ไคเซ็น)ของพนักงานฝ่ายการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: ระบบไคเซ็น Abstract The objective of the this study were to the Factors affect the improving of behavior of production by using Kaizen employees, improve systems.A Case Study Na Autopart Company. A sample was selected from 281 case were included as a sample. This research used a survey tool to collect data. And analyzing data using statistical computer program to calculate statistical values including the frequency value percentage average standard deviation value. Pearson Product Moment Correlation Coefficient. Analysis of the different sample groups using t- test values. One-way analysis of variance. The test pairs is using LSD. The research found that employees have to realize its policy of signing Kaizen employee levels. Behavior and continuous improvement (Kaizen) in the positive. Results of the study variables are as follows for employees who have the personal factors include gender, age, marital status and education level. The awareness of policy in the employee's signature Kaizen employee productivity, not differences. Employees with the personal factors include gender, age, marital status and education level. Behavior is continuous improvement (Kaizen) signature of employee productivity, not differences. Awareness of its policy Kaizen signature behavior is associated with continuous improvement (Kaizen) the staff has produced statistically significance at 0.05 level.. Keyword: Kaizen System

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กุรดิตซิงห์ พุทธราชา

Industrial Education division

ปัญญา ธีระวิทยเลิศ

Downloads

Published

2009-07-01