ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใช้แล้วของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใช้แล้วของผู้บริโภค ในจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใช้แล้วของผู้บริโภค ในจังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์การใช้รถยนต์ใช้แล้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้ซื้อรถยนต์ใช้แล้วที่นำรถยนต์ใช้แล้วมาทำการซ่อมบำรุงในศูนย์บริการของสถานประกอบการรถยนต์ใช้แล้วในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 363 คน หลังจากรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และทดสอบสมมติฐาน ด้วยสถิติเชิงอธิบายคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ ค่า t-test และ ค่า F-test ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย คิดเปนรอยละ 51.2 มีอายุระหวาง 26 - 30 ปี คิดเปนรอยละ 31.4 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจำนวน คิดเปนรอยละ 52.1 มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 42.7 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.9 มีประสบการณ์การใช้รถยนต์ใช้แล้ว คิดเป็นร้อยละ 57.9 โดยเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดที่นั่ง (เก๋ง) และประเภทรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (ปิคอัพ) เป็นส่วนใหญ่ 2. ค่าเฉลี่ยของปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใช้แล้วของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมและรายด้าน พบในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านกระบวนการการให้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยรวม โดย 3 อันดับที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ 1) เครื่องยนต์อยู่ในสภาพที่ดี มีสมรรถนะที่ยอมรับได้ 2) ราคาคุ้มค่ากับสภาพของตัวรถยนต์ และ 3) การทำนิติกรรมสัญญาอย่างถูกต้องชัดเจน ระบุเวลาแน่นอน ส่วนค่าเฉลี่ยที่มีค่าน้อยที่สุด คือ เลขทะเบียนของรถยนต์ เป็นที่ถูกใจ 3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ใช้แล้ว แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการใช้รถยนต์ใช้แล้ว ที่ต่างกัน มีปัจจัยในการตัดสินใ ซื้อรถยนต์ใช้แล้วที่ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: การตัดสินใจซื้อรถยนต์ใช้แล้ว Abstract This study aimed to 1) study factors affecting Samut Prakarn customers’ decision making to purchase used cars, and 2) compare those factors according to customers’ gender, age, education level, occupation, income, and experience in using the used cars. The samples of this study were 363 customers who bought used cars to have services in the maintenance centers of the used car dealers in Samut Prakarn province. Data were collected by using questionnaire and analyzed by statistic, such as frequency, percentage, means, standard deviation, while hypothesis testing were t-test and F-test at significant level 0.05, and different analysis testing was Least Significant Difference (LSD). Research findings were as follows: 1. 51.2% of the samples were male, 31.4% were between 26 - 30 years old, and 52.1% have Bachelor’s degree level. Most of the samples (42.7%) were the business office’ employees, and earned less than ten thousand baht a month (33.9%). Most of them (57.9%) had experience of using the used cars and pick-up truck. 2. All means of factors affecting customers’ decision making on purchasing the used cars in Samut Prakarn province were at a high level. Those factors were, in ordering from high to low level: the factors of process, product, people, price, place, promotion, and physical evidence. Three highest means included: 1) the engine performance, 2) worthiness of cars and price, and 3) correctness of legal legislation. The least mean’ factor was the license plate number. 3. The hypothesis testings were indicated that customers with different occupation and monthly income made different decision of purchasing the used cars at 0.05 level of significance. No difference was found in customers’ decision making in purchasing with different gender, age, education level, and experience in using the used cars. Keyword: decision making to purchase used carsDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2009-07-01
Issue
Section
บทความวิจัย