การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการออกแบบกระเป๋าสตรีในงานอุตสาหกรรม สำหรับนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Authors

  • อุปวิทย์ สุวคันทกุล
  • โอภาส สุขหวาน
  • รุ้งเพชร ยืนเพ็ง

Abstract

บทคัดย่อ ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบกระเป๋าสตรีในงานอุตสาหกรรม สำหรับนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขางานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยกำหนดประเด็นในการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมจากสภาพปัญหาในการออกแบบกระเป๋าสตรีร่วมกับคณาจารย์ผู้สอนในสาขางานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิ้น 5 บท ได้แก่ 1) รูปแบบ ลักษณะ และชนิดของกระเป๋าสตรี 2) แนวความคิดในการออกแบบกระเป๋าสตรี 3) การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ 4) การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และ 5) ประโยชน์ใช้สอยและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นปีที่ 3 สาขางานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ได้แก่แบบทดสอบหลังจากจบแต่ละบทรวม 5 บท รวม 35 ข้อ และแบบทดสอบภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมจำนวน 35 ข้อ และแบบสอบถามความคิดเห็นหลังการฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่าหลักสูตรฝึกอบรม เรื่องการออกแบบกระเป๋าสตรีในงานอุตสาหกรรมที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพ 85.42/89.42 คำสำคัญ :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม,การออกแบบกระเป๋าสตรี Abstract This research was aimed at developed the training curriculum on bags design in industrial works for students of the course in vocational education certificate in the major of leather industry of Bangkok Arts & Crafts College, Vocational Education Commission. The issue on developing of the training curriculum was identified from the problems encountered during design of bags with supports from teachers teaching in the leather industry major. There are five chapters in this study as follows; 1) designs, shapes and types of lady’s bags; 2) concept in designing of lady’s bags; 3) selection of materials and equipments; 4) Use of appropriate tools and machines; and 5) Purpose and daily use. The group of samples used in the research was ten students of the Third Year of vocational education certificate course in the leather industry major. The tools used in the research were the tests, with four multiple-choice options, as follows; the test of thirty five questions conducted after each of five chapters and the test of another thirty five questions as well as questionnaires for opinions conducted after the training course ended. From the result of the Research, it was found that the training curriculum on bags design in industrial works has its efficiency score at 85.42/89.42 Keyword: Training Curriculum Development, Bag design

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุปวิทย์ สุวคันทกุล

Industrial Education division

โอภาส สุขหวาน

รุ้งเพชร ยืนเพ็ง

Downloads

Published

2009-07-01