ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัยของผู้ปกครองนักเรียน

Authors

  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • ภักตรา ประเสริฐวงษ์
  • ชมพูนุช วีระพัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ               การวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัยของผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโรงเรียนแบบเจาะจง คือ โรงเรียนสหะพาณิชย์ จำนวนตัวอย่าง 400 คน ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษา คือ สถานภาพของผู้ปกครองนักเรียน ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ ขนาดครอบครัว ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัย 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเลือกซื้อ ด้านวิธีการใช้ ด้านการบำรุงรักษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์               ผลการวิจัยพบว่า               1. ผู้ปกครองนักเรียน ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ  54 รองลงมาคือต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 40 และที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือสูงกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 6                 2. รายได้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงสูงกว่า 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 55 รองลงมาคือ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 40 และต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5 ตามลำดับ               3. ขนาดครอบครัว ส่วนใหญ่มีสมาชิกอาศัยอยู่รวมกันจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 35 อาศัยอยู่จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 31 อาศัยอยู่จำนวนมากกว่า 4 คน คิดเป็นร้อยละ 29 และอาศัยอยู่จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ตามลำดับ               4. ผู้ปกครองนักเรียน มีพฤติกรรมการอนุรักษ์ไฟฟ้าในที่พักอาศัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก                5. ระดับการศึกษา รายได้ และขนาดครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าในที่พักอาศัยของผู้ปกครองนักเรียนโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า Abstract               The objective of this research was to study the factors related to the electrical energy conservation behavior of the parents. The researcher selected a specific school for the sampling. That was Sahapanit School and they were 400 parents. The independent variables were education level, income and family size. The dependent variables was energy saving behavior. The energy saving behavior would be consider in 3 areas:choosing, using and maintenance. The questionnaire were used for collecting data. The statistic used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, and Pearson product moment correlation.                The results were as followed:               1. The 54 percent of parents have bachelor degree, 40 percent of parents are lower bachelor degree, and only 6 percent of parents are higher than bachelor degree.               2. The 55 percent of parents have income higher than 20,000 baht, 40 percent of parents have income between 10,001-20,000 baht, 5 percent of parents have income lower than 10,000 baht.               3. The 35 percent of parents have family size of 4 persons, 31 percent of parents have family size of 3 persons, 29 percent of parents have family size of more than 4 persons, and 5 percent of parents have family size of 2 persons.                 4. The energy saving behavior of the parents as a whole were high level.                5. The education level, income and family size of the parents were related to energy saving behavior at 0.05 level of significance. Keyword: The electrical energy conservation

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

Industrial Education division

Downloads

Published

2010-01-01