การออกแบบและสร้างเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก

Authors

  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • โอภาส สุขหวาน
  • ไพทูล คำคอนสาร

Abstract

บทคัดย่อ               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการฝึกซ้อมนักกีฬาและผู้สนใจในกีฬากอล์ฟ โดยการออกแบบและสร้างเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก เพื่อใช้สำหรับฝึกซ้อมกีฬากอล์ฟ และหาสมรรถนะของเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไกที่สร้างขึ้นผู้วิจัยทำการออกแบบสร้างเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก สำหรับฝึกซ้อมกอล์ฟ ขนาดกว้าง 24 ยาว 37 สูง 26 เซ็นติเมตร  สามารถบรรจุลูกกอล์ฟในปริมาณมาตรฐานการฝึกซ้อมคือ ครั้งละ 40 ลูก หรือ 1 ถาด ต่อครั้ง โดยมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญของเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก มีดังนี้               1) โครงหน้ากาก เครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก เป็นส่วนประกอบที่ปกปิดระบบกลไกการทำงานของเครื่องที่ยึดกับฐาน ด้านหน้ามีช่องสำหรับปล่อยลูกมายังตัวป้อนลูกด้านบนมีช่องสำหรับให้ลูกไหลลงเป็นพื้นเรียบลาดเอียงเพื่อรองรับลูกกอล์ฟที่จะทำการฝึกซ้อม               2) ตัวป้อนลูก เป็นตัวป้อนลูกยึดติดกับฐานเมื่อแป้นกดถูกกดตัวป้อนลูกจะทำงาน               3) รางลำเลียงลูก เป็นตัวลำเลียงลูกไปยังกระเดื่อง               4) กระเดื่องวางลูก เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการทั้งหมดทำหน้าที่วางลูกกอล์ฟไว้บนทียางได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ               5) ตัวส่งลูก เป็นตัวส่งลูกกอล์ฟไปยังกระเดื่องเชื่อมยึดติดกับฐานโครงสร้าง               6) ฐานโครงสร้าง เป็นตัวกำหนดขนาด ความกว้าง ความยาว ความสูง ของเครื่อง เป็นตัวยึดชิ้นส่วนและระบบกลไกทั้งหมดของเครื่อง               7) แป้นกด เป็นตัวควบคุมการทำงานทั้งระบบ เชื่อมติดกับตัวป้อนลูกและตัวส่งลูก               ผู้วิจัยทำการประเมินเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไกโดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ตอน คือ               ตอนที่ 1 การประเมินการออกแบบเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไกทั้ง 3 แบบ การออกแบบเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก (แบบ ก) มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม = 2.33 อยู่ในระดับความเป็นไปได้ต่ำซึ่งไม่สามารถนำไปสร้างเป็นเครื่องต้นแบบได้  ส่วนการออกแบบเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก (แบบ ข) มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม = 2.57 สามารถนำไปสร้างเป็นเครื่องต้นแบบได้ และการออกแบบเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก (แบบ ค) มีค่าเฉลี่ยในภาพรวม = 2.85 สรุปว่า (แบบ ค) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผู้วิจัยจึงนำเอาผลการประเมินการออกแบบเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก (แบบ ค) มาสร้างเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไกในครั้งนี้                ตอนที่ 2 การประเมินสมรรถนะเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก โดยการปประเมินสมรรถนะ 4 ด้าน                ผลวิจัยพบว่า สมรรถนะโดยภาพรวม = 4.59 อยู่ในระดับดีมาก และการวิเคราะห์สมรรถนะโดยใช้ค่า t-test พบว่า สมรรถนะของเครื่องส่งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก (แบบ ค) มีสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้งาน  = 4.56 ค่า t= 4.707* อยู่ในระดับดีมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านการติดตั้งสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ดีมาก =4.70 ค่า t= 6.139* และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านความแข็งแรงสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ดีมาก =4.54 ค่า t=4.630 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการบำรุงรักษาสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ดีมาก =4.56 ค่า t= 6.424* และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05คำสำคัญ: การออกแบบและสร้างเครื่องตั้งลูกกอล์ฟโดยระบบกลไก Abstract               The objectives of this thesis were to design and construction of a mechanic golf ball teeing and to determine the device’s performance. The researcher designed and constructed the device with the width x length x height of 24 x 37 x 26 cms.,respectively ,which could contain a maximum of 40 golf balls a tray at a time. The main parts of this golf ball teeing device ware as follows:                   1) Body Frame. This is a four-sided iron wall to cover the inside machines. It’s bottom is attached to the Base Frame. At the front, there is a hole to deliver a golf ball.               2) Ball Feeder. This is also attached to the Base Frame and it will work when the Pressing Pad is pressed.               3) An Assembly Rail. This will carry golf balls to the Ball Dispenser.               4) Ball Dispenser. This final part will put a golf ball onto a rubber tee pad accurately and properly.               5) Ball Pusher. This will push a golf ball to the Dispenser.               6) Base Frame. This Base Frame determines width, and height of the device and supports all parts of the device.               7) Pressing Pad. This part is attached between the Ball Feeder and the Ball Pusher, and it will contron the overall system of the device.               The researcher, evaluated the performance of the mechanic golf ball teeing device. The evaluation procedures consisted of 2 parts as shown below:               Part 1. The evaluated the three design of mechanic golf ball teeing device (design A, B and C). The average values () of the evaluative opinions for design A, B and C were 2.33, 2.57 and 2.85 respectively. Then the researcher therefore constructed the device following design C which was evaluated as the most feasible design.               Part 2. Was assessing the device’s performance in five categories. The following results were found. The overall performance of the mechanic golf ball teeing device (design C) was at excellent level with statistically significant level at.05. Its working performance was at excellent level ( =4.58,t=4.707*and p<0.05). The installment performance was at excellent level (=4.70,t=6.139* and p<0.05). The strength performance was at excellent level (=4.54,t=4.630 and p<0.05). The maintenance performance was at excellent level (=4.56,t=6.424* and p<0.05)Keyword: Design and Construction of A Mechanic Golf Ball Teeing Device.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

Industrial Education division

Downloads

Published

2010-01-01