ผลของการทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกระบบปรับอากาศ ที่มีต่อการประหยัดพลังงาน

Authors

  • สัมฤทธิ์ บุญชู
  • ปัญญา ธีระวิทยเลิศ
  • บุญมี บุญยะผลานันท์

Abstract

บทคัดย่อ               การศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกระบบปรับอากาศ ที่มีต่อการประหยัดพลังงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การทดลองเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศที่มีการปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออก กับเครื่องปรับอากาศที่ใช้งานปกติ และเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการลดพลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ           วิธีดำเนินการวิจัย รวบรวมข้อมูลในระบบปรับอากาศ ออกแบบวิธีการวิจัยและติดตั้งอุปกรณ์ทดลอง ทดลองเดินเครื่องพร้อมกันทั้ง 2 เครื่อง บันทึกข้อมูลก่อนและหลังปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็น เปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ และการศึกษาทดลองครั้งนี้ใช้เวลาในการทดลอง 24 วัน และการทดลองจะทำการทดลองในช่วงเวลากลางคืนระหว่างเวลา 22.00 – 08.00 น. เนื่องจากเวลากลางวันมีอากาศแปรปรวนตลอด เช่น บางช่วงจะมีฝนตกและบางช่วงแดดออกทำให้อุณหภูมิภายนอกอาคารแตกต่างกันมาก ซึ่งจะมีผลต่อการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ                ผลการวิจัยพบว่า กรณีทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกที่ 46 OF (7.77 OC) ทดลอง 4 วัน วันละ 11 ชั่วโมง เครื่องปรับอากาศ Ch.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 20.33 บาท/ห้อง และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 24.10 บาท/ห้อง เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Ch.1 และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 3.57 บาท/ห้อง               กรณีทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกที่ 47 OF (8.33 OC) ทดลอง 4 วัน วันละ 11 ชั่วโมง เครื่องปรับอากาศ Ch.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 21.21 บาท/ห้อง และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 27.70 บาท/ห้อง เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Ch.1 และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 6.49 บาท/ห้อง               กรณีทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกที่ 48 OF (8.88 OC) ทดลอง 4 วัน วันละ 11 ชั่วโมง เครื่องปรับอากาศ Ch.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 21.15 บาท/ห้อง และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 25.81 บาท/ห้อง เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Ch.1 และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 4.66 บาท/ห้อง               กรณีทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกที่ 49 OF (9.44 OC) ทดลอง 4 วัน วันละ 11 ชั่วโมง เครื่องปรับอากาศ Ch.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 17.18 บาท/ห้อง เครื่องปรับอากาศ Ch.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 23.10 บาท/ห้อง เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Ch.1 และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 5.92 บาท/ห้อง               กรณีทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกที่ 50 OF (10 OC) ทดลอง 4 วัน วันละ 11 ชั่วโมง เครื่องปรับอากาศ Ch.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 16 บาท/ห้อง และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 22.55 บาท/ห้อง เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Ch.1 และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 6.55 บาท/ห้อง               กรณีทดลองปรับเพิ่มอุณหภูมิน้ำเย็นด้านจ่ายออกที่ 51 OF (10.55 OC) ทดลอง 4 วัน วันละ 11 ชั่วโมง เครื่องปรับอากาศ Ch.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14 บาท/ห้อง เครื่องปรับอากาศ Ch.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 21.65 บาท/ห้อง เมื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ Ch.1 และเครื่องปรับอากาศ Ch.2 ค่าพลังงานไฟฟ้าลดลงเท่ากับ 7.65 บาท/ห้องคำสำคัญ: อุณหภูมิน้ำเย็น, ระบบปรับอากาศ, การประหยัดพลังงาน Abstract               Research on the experiment of adds temperature in air conditioning system affecting energy reduction. Objectives: The experiments to compare the energy of air conditioners with cooling water temperature increase to pay out, with the normal air. Which a way to practice reduce the power of the air-conditioner systems.               The ways to research, I have to collect data on air-conditioning systems. Take the designs and set up equipments for the experiment research. And test the both air conditioners, recorded before and after cold water temperatures increase. And compare the using of electric air conditioners.  And these research studies take the time 24 day for experiment. And take the experiments only in the night between 22.00 - 08.00 pm. Through, during of daytime the air varies always such as; sometimes has a rain and sunlight, so the weather around the building has difference temperatures. It’s had affected to the using energy of air conditioners.               The research results has found that try increasing the case temperature of cold water from a pay 46OF (7.77OC) trial 4 days, 11 hours per day. The air conditioners Ch.1 used electric energy average a year equal to 20.33 baht / room. And the Ch.2 used electric energy average a year equal to 24.10 bath/room. When compared using energy of the air conditioners Ch.1 and Ch.2 has values of electric energy decreased as 3.57 bath/room.               Experimental cases of cold water temperatures increase the payout as 47 OF (8.33 OC) trial 4 days, 11 hours per day. The air conditioner Ch.1 used electric energy and average per year equal to 21.21 bath/room. And The Ch.2 used electric energy and average per year equal to 27.70 bath/room. When compared the using energy of air conditioners Ch.1 and Ch.2 the electric energy decreased as 6.49 bath/room.                Experimental cases of cold water temperatures increase the pay as 48 OF (8.88 OC )trial 4 days, 11 hours per day. The air conditioner Ch.1 used electric energy and average per year equal to 25.81 bath/room. And the Ch.2 used electric energy average annual equal to 25.81 baht/ room.  When compared the using energy of air conditioners Ch.1 and Ch.2 the electric energy decreased as 4.66 bath/room.               Experimental cases of cold water temperatures increase the pay as 49 OF (9.44 OC) 4 days, 11 hours per day. The air conditioner Ch.1 used electric energy and average per year equal to 17.18 bath/room. The Ch.2 used electric energy and average per year equal to 23.10 bath/room. When compared the using energy of air conditioners Ch.1and Ch.2 the electric energy decreased as 5.92 bath/room.                Experimental cases of cold water temperatures increase the pay as 50 OF (10 OC) trial 4 days,11 hours per day. The air conditioner ch.1 used electric energy and average per year equal to 16 bath/ room. The Ch.2 used electric energy and average per year equal to 22.55 baht/room. When compared the using Ch.1 energy of air conditioners and Ch.2 the energy electric decreased as 6.55 bath/room.               In these testing, experimental cases of cold water temperatures increase the pay as 51 OF (10.55 OC) trial 4 days,11 hours per day. The air conditioner Ch.1 had used electric energy and average per year equal to 14 Bath/Room. The Ch.2 used the energy electric and average per year equal to 21.65 Bath/Room. When compared the using Ch.1 energy of air conditioners and Ch.2 the energy electric decreased as 7.65 bath/ room.Keyword: Temperature, Air conditioning system, Energy saving.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

สัมฤทธิ์ บุญชู

Industrial Education division

Downloads

Published

2010-07-01