ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้พลังงานทดแทนในรถยนต์ กรณีศึกษาแก๊สแอลพีจีในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • นารากร สุขพัฒน์
  • สมชาย หมื่นสายญาติ
  • ธวัชชัย รัตนธรรมมา

Abstract

บทคัดย่อ               วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้พลังงานทดแทนในรถยนต์ กรณีศึกษาแก๊สแอลพีจี ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 2) เพื่อศึกษาระดับปัญหาในการใช้แก๊สแอลพีจีในรถยนต์ ของผู้ใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ที่ตัดสินใจติดตั้งแก๊สแอลพีจี ที่นำรถยนต์เข้าทำการตรวจเช็คกับศูนย์บริการการติดตั้งแก๊สแอลพีจีในเขตกรุงเทพมหานคร และจากสถานที่ต่าง ๆ จำนวน 386 คน เครื่องมือใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่  ค่า t-test และ ค่า F-test และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัย พบว่า               1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 63.5 มีอายุระหว่าง 26 - 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 27.2  จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 60.1 มีสถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 54.4 มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน คิดเป็นร้อยละ 46.1 มีรายได้ตั้งแต่ 10,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.4   ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างใช้รถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจีมาแล้ว 1 – 2 ปี ใช้เวลาศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ 1 – 3 เดือน โดยได้ข้อมูลและคำแนะนำจากเพื่อนร่วมงานมากที่สุด  ติดตั้งแก๊สแอลพีจีในรถยนต์เป็นระบบหัวฉีดมากกว่าระบบดูด ใช้รถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจี จำนวน 1 คัน มีอายุการใช้งานมาแล้ว 1 – 5 ปี มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ที่ 8.01 – 10 กิโลเมตร/ลิตร ระยะทางการใช้งานโดยเฉลี่ยต่อวัน 10.01 - 50 กิโลเมตร/วัน               2. ค่าเฉลี่ยของระดับของปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้แก๊สแอลพีจีในรถยนต์ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านราคาแก๊สแอลพีจี ด้านเชื้อเพลิงแก๊สแอลพีจี ด้านศูนย์บริการการติดตั้ง ด้านสถานีบริการจำหน่ายแก๊ส และด้านการส่งเสริมการตลาด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ โดยรวม 3 อันดับที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ 1) เมื่อใช้แก๊สแอลพีจีแล้วสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 2) ราคาของแก๊สแอลพีจีถูกกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิง และ 3) แก๊สแอลพีจีสามารถใช้ทดแทนพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น ๆ ในรถยนต์ได้ ส่วนอันดับสุดท้ายคือ การมีบริการสินเชื่อเพื่อการติดตั้งแก๊สแอลพีจี                  3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ใช้รถยนต์ที่ตัดสินใจติดตั้งแก๊สแอลพีจี ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ยกเว้นเพศ มีระดับของปัจจัยในการตัดสินใจติดตั้งแก๊สแอลพีจีในรถยนต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05               4. ระดับของปัญหาในการใช้แก๊สแอลพีจีในรถยนต์ โดยรวมและรายข้อเกือบทุกข้อ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายข้อ พบว่า ระดับของปัญหาในการใช้แก๊สแอลพีจีในรถยนต์ 3 อันดับแรก คือ 1) ราคาแก๊สแอลพีจีที่สูงขึ้น 2) คุณภาพของการบริการจากสถานีจำหน่ายแก๊สแอลพีจีที่ต่างกันและ 3) การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแก๊สแอลพีจีอย่างไม่ถูกต้องและไม่เพียงพอ ส่วนอันดับสุดท้ายคือ ความรู้สึกว่าผู้ใช้มีสุขภาพที่แย่ลงจากการใช้แก๊สแอลพีจีในรถยนต์ ซึ่งอยู่ในระดับน้อย คำสำคัญ: พลังงานทดแทน, รถยนต์, แก๊สแอลพีจี Abstract               This study aimed to 1) study and compare factors in the decision making to use the alternative energy in automobile: a case study of LPG in Bangkok, according to gender, age, education level, marital status, occupation, and monthly income, and 2) study problems of using LPG-fuelled cars.  The samples of this study were 386 individuals who owned LPG-fuelled cars to have services in the maintenance centers of the LPG installation centers in Bangkok. Also, those, who owned the LPG-fuelled cars, located in different areas in Bangkok, were included in this study. Data were collected by using questionnaire and analyzed by statistic, such as frequency, percentage, means, standard deviation, while hypothesis testing were t-test and F-test at significant level 0.05, and different analysis testing was Least Significant Difference (LSD).               Research findings were as follows:                1.  63.5% of the samples were male, 27.2% were between 26 - 30 years old, and 60.1% have Bachelor’s degree level. Most of the samples (54.4%) were married and were the business office’ employees (46.1%), and earned between 10 – 30 thousand baht a month (53.4%).  Most of them (51.6%) had experience of driving the LPG-fuelled cars for 1-2 years, spent 1-3 months before making decision, relying on colleague's advice. Most of the samples (65%) installed the LPG injection system to   the cars instead of the LPG mixer system. By average, they had one car with the age of 1-5 years old, fuel economy of 8 – 10 kilometers per liter, and run 10 to 50 kilometers per day.                 2.  All means of factors affecting the decision making to use the LPG system in automobile of users in Bangkok were at a high level.  Those factors were, in ordering from high to low level: the factors of LPG’s price, LPG product, LPG installation center, LPG station, and promotion. Three highest means included: 1) saving more money   after installing the LPG system, 2) much cheaper of LPG than petrol, and 3) generating energy for vehicles of LPG as of petrol. The least mean’ factor was the offer of down payments after installing the LPG system.               3. The hypothesis testings were indicated that LPG-fuelled car’ users with different age, education level, marital status, occupation, and monthly income made different decision of installing the LPG system in car at 0.05 level of significance.  No difference was found in users’ decision making in installing with different gender.4.  Problems of using LPG-fuelled cars were found at the moderate level. Those problems were, in ordering from high to low level: higher LPG’s price, different qualities of services of the LPG station, and inaccurate and inadequate LPG information.  The least problem was the effects of the LPG on human health.Keyword: The Alternative Energy, Automobile, LPG

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

นารากร สุขพัฒน์

Industrial Education division

Downloads

Published

2010-07-01