ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในองค์กรกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทธนบุรี เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับความภาคภูมิใจในองค์กรกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ศึกษาเปรียบเทียบขวัญในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และอายุงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในองค์กรกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานในบริษัทธนบุรี เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. ด้านปัจจัยส่วนบุคคล 2. ด้านความภูมิใจในองค์กร 3. ด้านขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความภาคภูมิใจในองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง และขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง พนักงานที่มี เพศ อายุ และสถานภาพสมรส ต่างกัน จะมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความภาคภูมิใจในองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .813) กับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01คำสำคัญ: ความภาคภูมิใจในองค์กร, ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน Abstract The purposes of this research were to study the level of organizational pride and work morale of employees. and to compare work morale of employees according to their personal factors; gender, age, marital status, level of education, and years of work, and to investigate the relationship between organizational pride and work morale of employees. The samples were 225 employees at Thonburi Entertainment Co., Ltd., selected by the proportional stratified random sampling. Data were collected by using questionnaire which had 3 parts: information regarding personal factors, organizational pride, and work morale of employees. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results of the study were as follows: Most employees had moderate level of organizational pride. And work morale in high Lavel. Employees who had different gender, age, and marital status had significant difference of work morale with a statistical significance at .01 level. There were a positive relationship between organizational pride and work morale of employees with a statistical significance at .01 level.Keyword: Organization Pride, Work Morale of Employees.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-07-01
Issue
Section
บทความวิจัย