ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การกรณีศึกษา บริษัทสยามเฟอร์โร อินดัสทรี้ จำกัด

Authors

  • จินตนา ศรีนุรัตน์
  • พงศ์ หรดาล
  • สมเดช เฉยไสย

Abstract

บทคัดย่อ               งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การ ศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้วัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น พนักงานบริษัทสยามเฟอร์โร อินดัสทรี้ จำกัด จำนวน 178 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมองค์การมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9102 และแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9548 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน               ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีระดับการรับรู้วัฒนธรรมองค์การโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับสูง พนักงานที่มี เพศ อายุ อายุงาน และระดับการศึกษาต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพนักงานที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05คำสำคัญ: การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ Abstract               The purposes of this research were to study the level of perception of organizational culture and organizational commitment, compare organizational commitment of employees who have different personal factors, study relationship between perception of organizational culture and organizational commitment of employees. The samples of this study were 178 employees who were chosen by simply random sampling. Research questionnaire contained 3 parts: personal characteristics, perception of organizational culture and organizational commitment. The reliability of perception of organizational culture and organizational commitment was 0.9102 and 0.9548 respectively. The statistics used in the research were percentage, means, standard deviation, t-test, one - way ANOVA and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.                The followings are the results of this research. Employees had perceived organizational culture at high level, had organizational commitment at high level. Employees with different gender, age, period of work time and education level had no different organizational commitment. However, those who had different domicile had different organizational commitment with a statistical significance at 0.05. There was a positive relationship between overall perception of organizational culture and organizational commitment with a statistical significance at 0.05 levels.Keyword: Perceptions of Organizational Culture, Organizational Commitment.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

จินตนา ศรีนุรัตน์

Industrial Education division

Downloads

Published

2012-02-18