การศึกษาปัญหาการจัดทำระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ของ บริษัท บีทาเกน จำกัด
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาการจัดทำระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ของ บริษัท บีทาเกน จำกัด โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการทำระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ของบริษัท บีทาเกน จำกัด จำนวน 40 คน ตัวแปรอิสระ ที่ใช้ในการศึกษา คือ ขั้นตอนที่1 การจัดทำคณะทำงาน HACCP ขั้นตอนที่ 2 การบรรยายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนที่ 3 การระบุวิธีการนำไปใช้ ขั้นตอนที่ 4 การสร้างแผนภูมิการผลิต ขั้นตอนที่ 5 ขั้นทวนสอบแผนภูมิที่จุดการผลิตจริง ขั้นตอนที่ 6การระบุอันตรายทั้งหมดที่มีโอกาสเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต วิเคราะห์อันตรายและพิจารณามาตรการป้องกัน เพื่อควบคุมอันตรายที่ระบุไว้ ขั้นตอนที่ 7 การกำหนดจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ขั้นตอนที่ 8 การกำหนดค่าวิกฤตสำหรับจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมแต่ละจุด ขั้นตอนที่ 9 การจัดทำระบบตรวจติดตามสำหรับจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมแต่ละจุด ขั้นตอนที่ 10 การกำหนดวิธีการแก้ไข ขั้นตอนที่ 11 กำหนดกระบวนการทวนสอบ ขั้นตอนที่ 12 ทำระบบเอกสารและการเก็บบันทึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Z-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวนรวมทั้งสิ้น 40 คน จำแนกตามอายุ อายุต่ำกว่า 25 ปีมีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5 อายุ 25-30 ปีมีจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 52.5 อายุ 31-35 ปีมีจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 25 อายุ 36-40 ปีมีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 อายุ 41-45 ปีมีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 จำแนกตามวุฒิการศึกษา วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5 วุฒิการศึกษาปริญญาตรีมีจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 90 สูงกว่าปริญญาตรีมีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ5 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานโรงงานอุตสาหกรรมน้อยกว่า 1 ปีมีจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ5 ประสบการณ์ ระหว่าง 1-2 ปีมีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ระหว่าง 3-5 ปีมีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 30 มากกว่า 5 ปีขึ้นไปมีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 55 จำแนกตามการได้รับการอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับระบบ HACCP เคยได้รับการอบรมมีจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 75 2. ปัญหาในการดำเนินการขอรับรองระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ของโรงงาน 12 ขั้นตอน มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 3. วิเคราะห์ข้อมูลคำถามปลายเปิดการจัดทำระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤต มีดังนี้คือ ต้องการให้จัดอบรม อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ต้องการให้มีรางวัลแก่แผนกที่จัดทำระบบและผ่านการรับรอง ต้องการให้มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำ รัฐบาลควรประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน คำสำคัญ: การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP)Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-01-01
Issue
Section
บทความวิจัย