ผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อรอยเลื่อนของแผ่นดินบริเวณเขื่อนจังหวัดกาญจนบุรี

Authors

  • ภัทรพล สุวรรณโฉม
  • เกรียงศักดิ์ ทวีวัฒน์
  • สมเกียรติ สุขุมพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ               การศึกษาเรื่องผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อรอยเลื่อนของแผ่นดินบริเวณเขื่อน จังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อรอยเลื่อนของแผ่นดินบริเวณเขื่อน จังหวัดกาญจนบุรี  2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดิน จำแนกตามตัวแปร เพศ สถานภาพ และสถานที่พักอาศัย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์และการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดิน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่มุ่งหวังและการป้องกันและการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นประชาชนในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจิตวิทยา ตามทฤษฎีของซิกฟรอยด์ (Sigmund Freud) ใน 3 ด้านคือ การเข้าข้างตนเอง การโยนความผิดหรือโทษคนอื่น และการเก็บกดและการถดถอย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group Discussion) และใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย (Delphi Technique) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ  และแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .9022 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  ผลการวิจัยพบว่า               1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานที่พักอยู่บริเวณลุ่มน้ำใต้เขื่อน และรับรู้ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับรอยเลื่อนของแผ่นดินในจังหวัดกาญจนบุรี และไม่ได้เตรียมความพร้อม แต่ในส่วนที่เตรียมความพร้อม จะเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับของใช้ที่จำเป็น รอฟังสัญญาณเตือนภัยหรือข่าวสารให้หลบหนี และมองหาพื้นที่หรือสถานที่ที่จะไปหลบภัย               2. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดิน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการเข้าข้างตนเอง และด้านการโยนความผิดหรือโทษคนอื่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการเก็บกดและการถดถอย โดยรวมอยู่ในระดับน้อย               3. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดินในด้านสถานการณ์ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และในด้านความมุ่งหวังและการป้องกันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง                4. กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกันและสถานภาพต่างกันมีการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนแผ่นดินเป็นรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน               5. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกันมีการรับรู้ด้านจิตวิทยาในประเด็นการเข้าข้างตนเองที่มีต่อรอยเลื่อนแผ่นดิน และในประเด็นการโยนความผิดหรือโทษคนอื่นที่มีต่อรอยเลื่อนแผ่นดิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในประเด็นการเก็บกดและการถดถอยต่อรอยเลื่อนแผ่นดินไม่แตกต่างกัน                6. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกันมีการรับรู้ด้านสถานการณ์รอยเลื่อนแผ่นดินไม่แตกต่างกัน               7. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพต่างกันมีการรับรู้ด้านสิ่งมุ่งหวังและการระวังป้องกันรอยเลื่อนแผ่นดิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ                8. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานที่พักต่างกันมีการรับรู้ด้านพฤติกรรมเชิงจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนแผ่นดิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประเด็นการเข้าข้างตนเองที่มีต่อรอยเลื่อนแผ่นดินไม่แตกต่างกัน ส่วนประเด็นการโยนความผิดหรือโทษคนอื่นที่มีต่อรอยเลื่อนแผ่นดิน และประเด็นการเก็บกดและการถดถอยต่อรอยเลื่อนแผ่นดิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ                9. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานที่พักต่างกันมีการรับรู้ด้านสถานการณ์รอยเลื่อนแผ่นดินไม่แตกต่างกัน               10. กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานที่พักต่างกันมีการรับรู้ด้านสิ่งมุ่งหวังและการระวังป้องกันรอยเลื่อนแผ่นดินไม่แตกต่างกัน               11. เปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมเมื่อรอยเลื่อนของแผ่นดินเกิดการขยับตัวที่มีผลกระทบด้านจิตวิทยาเป็นรายด้าน จำแนกตามการเตรียมความพร้อม มีผลกระทบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการเก็บกดและการถดถอย และด้านสิ่งมุ่งหวังและการป้องกัน                12. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างสถานการณ์และการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดิน มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คือ ด้านการเข้าข้างตัวเอง (r = .504) ด้านการโยนความผิดหรือโทษคนอื่น (r = .463) และด้านการเก็บกดและการถดถอย (r = .421)                13. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างสิ่งที่มุ่งหวังและการป้องกันและการรับรู้ด้านจิตวิทยาที่มีต่อรอยเลื่อนของแผ่นดิน มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คือ ด้านการเข้าข้างตัวเอง (r = .364) ด้านการโยนความผิดหรือโทษคนอื่น (r = .275) ด้านการเก็บกดและการถดถอย (r = .307) คำสำคัญ: ผลกระทบด้านจิตวิทยา, รอยเลื่อน, เขื่อน Abstract               The study on Psychological Impacts of Fault in Dam Areas in Kanchanaburi Province is aimed at 1) investigating the faults of the psychological impacts  of dam areas, Kanchanaburi Province 2) comparing the psychological perception on fault regarding sex, occupational background and residential areas 3) examining the relations between situation and psychological perception towards fault and 4) studying the relations between expectation and earthquake safety and psychological perception towards fault, respectively.  The samples were 400 residents in Kanchanaburi Province. To collect data, the five-scaled questionnaire on psychological behaviour based on Sigmund Freud’s Psychoanalytic Theory in three aspects, namely defense mechanism, projection, and repression and regression was developed by the researchers by using focus group discussion. The panel of experts by Delphi method was applied for content validity of the questionnaire.  The overall reliability of the questionnaire was .0922.  Statistics applied for data analysis were namely percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and correlation coefficienty. The findings revealed that               1. Most respondents were female residing in watersheds below the dam and had acknowledged information on fault in Kanchanaburi Province.  The preparation for earthquake safety includes the preparation of daily personnel belongings, active follow-up of earthquake alarm or warning news, and search for shelter or safety places.               2. The respondents had a moderate overall psychological perception on fault.  By considering each aspect, it was found that their perception on defense mechanism and projection was moderate whereas their perception on repression and regression was low.               3. The respondents had a moderate overall psychological perception on fault situation.  They also perceived the expectation and earthquake safety at a moderate level.               4. The respondents based on sex and occupational backgrounds had no difference on psychological perception in all aspects on fault.               5. The respondents based on occupational backgrounds had difference on psychological perception on defense mechanism and projection at .05 level of statistical significance.  But they had no difference on psychological perception on repression and regression.                6. The respondents based on occupational backgrounds had no difference on psychological perception on fault situation.               7. The respondents based on occupational backgrounds had difference on psychological perception on repression and regression at .05 level of statistical significance.               8. The respondents based on residential areas had difference on psychological perception on fault at .05 level of statistical significance.  It was noted that they had no difference on psychological perception on defense mechanism whereas they had difference on psychological perception on projection and repression and regression at .05 level of statistical significance.               9. The respondents based on residential areas had no difference on psychological perception on fault situation.                10. The respondents based on residential areas had no difference on psychological perception on expectation and earth quake safety from fault.               11. The respondents based on preparation for earth quake safety had difference on psychological impacts on repression and regression and expectation and earth quake safety.                12. There was positive correlation between situation and psychological perception on fault at .05 level of statistical significance with correlation coefficient of defense mechanism of .504, projection of .463, and repression and regression of .421, respectively.               13. There was positive correlation between expectation and protection and psychological perception on fault at .05 level of statistical significance with correlation coefficient of self-defense mechanism of .364, protection of .275, and repression and regression of .307, respectively. Keyword: Psychological Impacts, Fault, Dam

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ภัทรพล สุวรรณโฉม

Industrial Education division

Downloads

Published

2011-01-01