การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความรู้พื้นฐานสิ่งทอสำหรับหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ

Authors

  • ก้องเกียรติ ปิ่นกุมภีร์
  • อุปวิทย์ สุวคันธกุล
  • โอภาส สุขหวาน

Abstract

บทคัดย่อ               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้พื้นฐานสิ่งทอสำหรับหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและหาประสิ้ทธิภาพาของหลักสูตรฝึกอบรมความรู้พื้นฐานสิ่งทอสำหรับหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องความรู้พื้นฐานสิ่งทอสร้างขึ้นมากจากการศึกษาข้อมูลเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้รูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรของทาเป็นแนวทาง มีโครงสร้างของเนื้อหา 5 หน่วยการเรียน คือ หน่วยการเรียนที่1 เรื่องเส้นใย หน่วยการเรียนที่2 เรื่องเส้นด้าย หน่วยการเรียนที่3 เรื่องการผลิตผ้า หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่องการเตรียมผ้าและการย้อม หน่วยการเรียนที่ 5 เรื่องการทดสอบผลิตภัณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเย้าใจระหว่างฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานของบริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด จำยวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน               ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องความรู้พื้นฐานสิ่งทอมีประสิทธิภาพ 92.50/90.62 โดยแต่ละหน่วยการเรียนมีค่าประสิทธิภาพดังนี้ หน่วยการเรียนที่1 เรื่องเส้นใย ได้ค่าประสิทธิภาพ(E1/E2)=91.34/90.38 หน่วยการเรียนที่2 เรื่องเส้นด้าย ได้ค่าประสิทธิภาพ(E1/E2)=92.50/90.00  หน่วยการเรียนที่3 เรื่องการผลิตผ้า ได้ค่าประสิทธิภาพ(E1/E2)=92.85/91.07  หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่องการเตรียมผ้าและการย้อม ได้ค่าประสิทธิภาพ(E1/E2)=92.85/91.07 หน่วยการเรียนที่ 5 เรื่องการทดสอบผลิตภัณฑ์ ได้ค่าประสิทธิภาพ(E1/E2)=93.75/90.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้และผลการประเมินโครงการฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับดี.คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ความรู้พื้นฐานสิ่งทอ, หัวหน้างาน  Abstract               The main purmpose of this research were to develop the training curriculum and to find out the  efficiency of training curriculum on fundamental textile for supervisors in textile industries. The curriculum construction on fundamental textile was constructeds from various related researches and information involved in this research area. Taba’s curriculum pattern was used as a guideline in this research. The new constructed curriculum comprised with 5 units – Unit 1 : Fiber, Unit2 : Yarn, Unit3: Fabric, Unit4: Cloth Preparation and Dying, and Unit5: Product Testing. While and post tests on understanding on what were being trained and training evaluation questionaire were used as resedarch instrument tfor data collection. Research samples were eight supervisors working for Thai Textile Industry Co.,Ltd.               The research finding showed that the efficiency of the curriculum training on fundamental textile was at 92.50/90.62. The efficiency of curriculum with 5 units – Unit 1 : Fiber (E1/E2) = 91.34/90.38, Unit2 : Yarn (E1/E2) = 92.50/90.00, Unit3: Fabric(E1/E2) = 92.85/91.07, Unit4: Cloth Preparation and Dying(E1/E2)  = 92.85/91.07, and Unit5: Product Testing(E1/E2) = 93.75/90.06 whichwas higher than the criteria was since the start. The mean of evaluation of the training curriculum was 4.50 which showed that it was in the “good” level. Keyword: Training curriculum development, Knowledge of textile, Supervisor

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ก้องเกียรติ ปิ่นกุมภีร์

Industrial Education division

Downloads

Published

2011-01-01