การพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง ป่าชายเลน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • ขวัญตา ทองใบ
  • บังอร พานทอง
  • สุนันทา มนัสมงคล

Abstract

บทคัดย่อ               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง ป่าชายเลนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความตระหนักต่อการอนุรักษ์ป่าชายเลน และความพึงพอใจต่อชุดการเรียน               กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 34 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการเรียน เรื่อง ป่าชายเลน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความตระหนัก และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าประสิทธิภาพของชุดการเรียน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้การทดสอบค่า t-test               ผลวิจัยพบว่า                     1) ชุดการเรียน เรื่อง ป่าชายเลน ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.15/83.43                     2) ผลสัมฤทธิ์ และความตระหนักต่อการอนุรักษ์ป่าชายเลนของนักเรียนหลังใช้ชุดการเรียน เรื่อง ป่าชายเลน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                     3) ความพึงพอใจต่อชุดการเรียนเรื่อง ป่าชายเลน อยู่ในระดับดีคำสำคัญ: ชุดการเรียน, ป่าชายเลน   Abstract               The purposes of this research were  to develop a learning package on mangrove for Secondary School Grade 7 at students, Luangpopanklongdananusorn School,  by investigate students’ achievement, students awareness and students  satisfaction toward learning package on mangrove.               The sample were 34 Secondary School Grade 7 students, at Luangpopanklongdananusorn schoo enrolled in the first semester of 2009 academic year. They were selected by the multi-stage sampling technique. The learning package on mangrove, achievement test, awareness test and satisfaction test were used as instruments for this study.  The data were statistically analyzed by computation of the efficiency index on learningpackage and t-test for significant difference of means.               The results of this study indicated that:                     1) The learning package on mangrove attained the efficiency index at 84.15/83.43                     2) The students’ achievement and awareness on mangrove conservation toward the learning package on mangrove were significantly increased after the experiment at .05 level.                     3) The student’s satisfaction toward the learning package on mangrove was in the good level.Keyword: Learning Package, Mangrove

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ขวัญตา ทองใบ

Industrial Education division

Downloads

Published

2011-01-01