การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชา อต 501 การจัดการอุตสาหกรรมตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชา อุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract
บทคัดย่อ ความมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชา อต 501 การจัดการอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชา อต.501 การจัดการอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 13 คน ทำการประเมินบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 6 ด้าน คือ 1.ด้านเนื้อหาและการดำเนินการ 2.ด้านส่วนประกอบด้านมัลติมีเดีย 3.ด้านการจัดวางรูปแบบของเว็บไซท์ 4.ด้านการเชื่อมโยง 5.ด้านแบบฝึกหัด และ 6.ด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์มีประสิทธิภาพ นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Test ผลการวิจัยพบว่า 1)การสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชา อต 501 การจัดการอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทำการวิเคราะห์เนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3คน สามารถวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปเนื้อหาได้ 6 หน่วยการเรียนรู้ดังนี้ 1.หน้าที่การบริหารการวางแผน 2.การเพิ่มผลผลิต 3.ระบบการผลิตและการบริหารการผลิต 4.การจัดระบบงบประมาณและงบการเงิน 5.การจัดการด้านการตลาด 6.พระราชบัญญัติอุตสาหกรรม 2)ประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชา อต 501 การจัดการอุตสาหกรรม ตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีประสิทธิภาพโดยรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 อยู่ในเกณฑ์ดี สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4.00 มีค่าคะแนน t = 3.02 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าประสิทธิภาพดังนี้ 1.เนื้อหาและการดำเนินเรื่อง มีค่าเฉลี่ย 4.10 คะแนน (t =2.84) อยู่ในเกณฑ์ดี 2.ส่วนประกอบด้านมัลติมีเดียมีค่าเฉลี่ย 4.17 คะแนน (t =2.27) อยู่ในเกณฑ์ ดี 3.การจัดวางรูปแบบของเวปไซท์ มีค่าเฉลี่ย 4.22 คะแนน (t =3.02) อยู่ในเกณฑ์ดี 4.ด้านการเชื่อมโยงมีค่าเฉลี่ย 4.19 คะแนน (t =2.40) อยู่ในเกณฑ์ดี 5.ด้านแบบฝึกหัดมีค่าเฉลี่ย 3.97 คะแนน (t =-0.46) อยู่ในเกณฑ์ดี 6.ด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ 4.15คะแนน (t =2.04) อยู่ในเกณฑ์ดี คำสำคัญ: บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์, การจัดการอุตสาหกรรม, สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา Abstract The purposes of this research were to construct electronics learning on IN 501 industrial management subject according to Master of Education , Major in Industrial Education, Srinakharinwirot University and to evaluate the efficiency of the electronics learning on IN 501 industrial management Subject. The electronics learning on IN 501 industrial management subject was evaluated by 13 experts in 6 areas. They were:1) Content and Process 2. Multimedia 3.Web site Layout 4. Navigation Relation 5. Assignment 6.Interactive Design. The statistical tools that were used to analyze the data were mean standard deviation and t-Test.The results were as followed: 1) The construction of Electronics Learning on IN 501 Industrial Management Subject According to Master of Education, Major in Industrial Education, Srinakharinwirot University was analyzed by 3 experts and came out with 6 units. They were: 1. Planning Management, 2. Productivity, 3.Production System and Production Management, 4.Budgeting and Financial Plan, 5. Marketing Management, 6.Industrial Acts.2) The efficiency of Electronics Learning on IN 501 Industrial Management Subject According to Master of Education, Major in Industrial Education, Srinakharinwirot University was evaluated by 13 experts in 6 areas. For as a whole had the average of 4.13 in good level was higher than standard 4.00 which t = 3.02. When considered in each areas found that; Areas 1; Content and Process t had the average of 4.10 in good level t =2.84. Areas 2; Multimedia had the average of 4.17 in good level t =2.27. Areas 3; Web site Layout had the average of 4.22 in good level t =3.02. Areas 4; Navigation Relation had the average of 4.19 in good level t =2.40. Areas 5; Assignment had the average of 3.97 in good level t =-0.46. Areas 6; Interactive Design had the average of 4.15 in good level t =2.04 Keyword: Electronics Learning, Industrial Management, Major in Industrial EducationDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-01-01
Issue
Section
บทความวิจัย