ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมของนักกอล์ฟในการใช้บริการร้านกอล์ฟ

Authors

  • ประภาพร คุปต์อารยกุล
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร
  • กาญจนา คูวัฒนะศิริ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการกับพฤติกรรมของนักกอล์ฟในการใช้บริการร้านกอล์ฟ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านพนักงานผู้ให้บริการ และข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการร้านกอล์ฟ ตัวแปรอิสระ ที่ใช้ในการศึกษา คือ 1. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา 2. ปัจจัยส่วนประสมทางตลาดบริการ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมของนักกอล์ฟในการใช้บริการร้านกอล์ฟ ผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Z-test และ สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1.) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากนักกอล์ฟ จำนวน 400คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 330 คน คิดเป็นร้อยละ 82.5 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 254 คน คิดเป็นร้อยละ 63.50 ส่วนใหญ่มีรายได้ 80,001 – 100,000 บาทต่อเดือน มีจำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ที่เคยเล่นกอล์ฟระหว่าง 11 - 15 ปี จำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 2.)นักกอล์ฟมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางตลาดบริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.20 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือด้านราคา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการส่งเสริมการตลาดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 อยู่ในระดับมาก ด้านพนักงานผู้ให้บริการมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.65 อยู่ในระดับมาก 3.)นักกอล์ฟมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักกอล์ฟในการใช้บริการร้านกอล์ฟ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ใช้บริการร้านกอล์ฟโดยพิจารณาจากคุณภาพเป็นลำดับแรกมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.66 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้บริการร้านกอล์ฟโดยดูจากชื่อยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่นิยม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 อยู่ในระดับมากที่สุด 4.) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมของนักกอล์ฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .363 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านการจัดจำหน่าย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมของนักกอล์ฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการใช้บริการร้านกอล์ฟ, นักกอล์ฟ Abstract The objectives of this research were to study the relationship between service marketing mixes and golfers’ behavior on golf shops. The marketing mixes were products, price, place, promotion and personal. The researcher investigated the golfers’ behavior on golf shops. The independent variables were 1. Golfers status such as sex age income and educational attainment 2. The service marketing mixes were products, price, place, promotion and personal. The dependent variable was golfers’ behavior on golf shops. The samples were 400 golfers. The questionnaires were used to collect the data. The statistical tool used to analyze the data, were percentage, mean, standard deviation, Z-test and simple correlation. The results were as follows: 1. )There were 400 golfers’ in this study. Most of them were male (330 or 82.5 percent), aged between 41-50 years old (240 golfers’ or 60 percent), obtained bachelor degree (254 golfers or 63.50 percent), had income of 80,001 -100,000 bah (160 golfers or 40.00 percent), had experiences as golfers between 11 – 15 years (240 golfers or 60 percent). 2.) The golfers’ opinion on the service marketing in overall aspects was at a high level the average of 4.20. If considering in each aspect, it was found that product and price aspects were at the highest level the average of 4.80 and 4.60 respectively, where as promotion, personal and place aspects were at a high level have the average of 4.15, 3.80, 3.65 respectively. 3.) In terms of the golfers’ behavior on the services of the golf shops, it revealed that in overall aspects were at a high level. When considering each aspect, the quality and brand of the products were at the highest level have the average of 4.66 and 4.65 respectively. 4. )There was positive relationship between the opinions on the service marketing mix and the golfers’ behavior which had a statistical significant relation ship at 0.01 correlation of 0.363. Keyword: Service Marketing Mix, Golfers Behavior on Golf shops, Golfer.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ประภาพร คุปต์อารยกุล

Industrial Education division

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร

กาญจนา คูวัฒนะศิริ

Downloads

Published

2011-01-01