การสกัดสีย้อมผ้าจากดินแดง
Abstract
บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อศึกษาการสกัดสีย้อมผ้าจากดินแดบริเวณเขาคลุกคลีในเขตพื้นที่ หมู่12 ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และหาประสิทธิภาพความคงทนของสีตามมาตรฐานอุตสาหกรรมมอก.121-2518 เล่ม2-5 ในด้านความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อแสง ความคงทนของสีต่อเหงื่อ ความคงทนของสีต่อการขัดถู ตามเกร์ยสเกลมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 121-2518 เล่ม 14 วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ใช้ใช้ดินแดงจาก บริเวณเขาคลุกคลีในเขตพื้นที่หมู่12 ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เป็นดินประเภท ดินแดงร่วน ทำการหาองค์ประกอบทางเคมีภายในดินและปริมาณร้อยละของเหล็กออกไซด์โดยเครื่อง X-rays Fluorescence Spectrometer (XRFS) ก่อนการสกัด โดยใช้ดินแดงบริเวณผิวดิน และลึกลงบริเวณใต้ดินระยะ 10 เซนติเมตร นำดินแดงที่ผ่านการหาปริมาณร้อยละของเหล็กออกไซด์ไปทำการสกัดแยกเหล็กออกไซด์โดยเครื่องแยกเหล็กชนิดแม่เหล็กชั่วคราว นำเหล็กออกไซด์ที่ได้จากการสกัดไปวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) โดยเครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH Meter) และนำเหล็กออกไซด์ผสมสารช่วยติด 3 ชนิด ได้แก่ เกลือ สารส้ม ผงชูรส นำไปย้อมบนผืนผ้า 4 ชนิด ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าลินิน ผ้าขนสัตว์ ทดสอบประสิทธิภาพความคงทนของสีตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 121-2518 เล่ม 2 เล่ม 3 เล่ม 4 และเล่ม 5 ได้แก่ ความคงทนของสีต่อแสง ความคงทนของสีต่อการซัก ความคงทนของสีต่อเหงื่อ ความคงทนของสีต่อการขัดถู และเปรียบเทียบบนเกร์ยสเกลมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 121- 2518 เล่ม14 โดยศูนย์วิเคราะห์และทดสอบสิ่งทอ สถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบหาปริมาณร้อยละของเหล็กออกไซด์พบว่าดินแดงบริเวณใต้ดินระยะ 10 เซนติเมตร มีร้อยละเหล็กออกไซด์มากกว่าบริเวณผิวดิน มีเหล็กออกไซด์ร้อยละ 21.43 จึงเลือกดินบริเวณใต้ดินระยะ 10 เซนติเมตร ไปทำการสกัดแยกเหล็กออกไซด์ ผลของการสัดแยกเหล็กออกไซด์พบว่าดินแดงปริมาณ1000 กรัม จะได้สีจากเหล็กออกไซด์จำนวน 94.64 กรัม คิดเป็นร้อยละ 9.46 ของปริมาณของดินแดงที่ใช้ในการสกัด นำเหล็กออกไซด์ที่ได้จากการสกัดไปวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) พบว่าค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของเหล็กออกไซด์มีค่า 8.99 มีค่าเป็นด่าง 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพความคงทนของสีบนผืนผ้าตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.121-2518 เล่ม 2 เล่ม 3 เล่ม 4 และเล่ม 5 เมื่อเปรียบเทียบตามเกร์ยสเกลมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 121-2518 เล่ม14 พบว่า ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ย้อมสีผสมสารช่วยติดชนิด เกลือ สารส้ม และผงชูรส มีประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อแสงและประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อการซักอยู่ในระดับดี สีมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อเหงื่ออยู่ในระดับดีถึงดีมาก สีมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยถึงไม่มีการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อการขัดถูอยู่ในระดับดี สีมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ยกเว้นผ้าไหมมีประสิทธิภาพความคงทนของสีต่อการขัดถูอยู่ในระดับดีพอใช้ สีมีการเปลี่ยนแปลงพอสังเกตได้ คำสำคัญ: ดินแดง, การสกัด, สีย้อมผ้า Abstract The proposes of this research were to extracted fabric of dyestuff from laterite as followed by Thai Industrial Standards (TIS) color,TIS standards No. 121-2518 The laterites were collected from Khuk Klee mountains area, Ban Talaad Khet, Rang Wai, Phanom Thuan district, Kanchanaburi province. The experiments were carried out on an analysis of chemical compositions in the soil and iron oxide percentage by X-rays Fluorescence Spectrometer (XRFS) mechanism. The laterite area underlying ground and deep down to the ground 10 centimeter.The extraction was passed though magnetic separator for iron oxide removal. The iron oxide was measured the pH value by pH meter. The iron oxide was mixed with three type of mordants such as sodium chloride, potassium aluminium sulfate (PAS), or monosodium glutamate (MSG) by dyeing on the four types of fabrics including cotton, wool, linen and silk. The tested under TIS standards No. 121-2518 volume 2, 3, 4 and 5, including the retention of the color to light, durability of color to washing processed, color stability of the sweat and durability of the of the polishing when compared with TIS standards No.121-2518 volume 14 at Textile testing Center Thailand Textile Institute. The result of testing percentage in iron oxides found that laterite deep down to the ground 10 centimeter has more percentage than laterite area underlying ground and has iron oxides 21.43 percentage. Then choose laterite deep down to the ground 10 centimeter (quantity 1000 gram) to extraction and separates the iron oxides. The result shown that in quantity 1000 gram could extraction and separates in quantity shares 94.64 gram or 9.46 percentage of the quantity of the laterite that uses in the extraction. The result of testing acid and alkaline salt (pH) is 8.99 there is the alkaline. The result of testing durability efficiency of a color under TIS standards No. 121-2518 volume 2, 3, 4 and 5 compare with scale under standardizes of TIS standards No.121-2518 volume 14.We found that cotton, wool, linen and silk,dyes to mixed with mordants such as sodium chloride, PAS or MSG. The durability of a color with light and the durability of a color with cloth washing in good level. The color has a little change. The effective of the durability of a color with sweat is in good to excellent level. The color has a little change and seems not change. But silk, there is effective the durability of a color with the scrub rubs in fair level. The color has a little change and we could observe.พจนานุกรม - ดูพจนานุกรมโดยละเอียด Keyword: Latrerite, Extraction, Fabric dyestuff.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2011-01-01
Issue
Section
บทความวิจัย