การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะแววนวัตกรในอุตสาหกรรมบริการ

THE DEVELOPMENT OF INNOVATIVE INSTRUCTIONAL MODEL OF STRENGTHEN THE INNOVATORS CHARACTERISTICS IN THE SERVICE INDUSTRY

Authors

  • พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์

Abstract

บทคัดย่อ             คุณลักษณะแววนวัตกรเป็นคุณสมบัติของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมบริการ ผลจากการวิจัยเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมบริการที่จะส่งผลต่อคุณภาพการบริการในอนาคต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะแววนวัตกรในอุตสาหกรรมบริการ 2) เพื่อประเมินคุณลักษณะแววนวัตกรในอุตสาหกรรมบริการ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานวัตกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ชั้นปีที่ 1 จำนวน 2 กลุ่มเรียน 87 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะแววนวัตกรฯ 2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนฯ 3) แบบประเมินคุณลักษณะแววนวัตกร วิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะแววนวัตกรในอุตสาหกรรมบริการสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี (BK-IDEA) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (1) เติมเต็มพื้นฐาน (B: Basic of Knowledge) (2) สืบสารช่องว่าง (K: Knowledge Gap) (3) สรรค์สร้างอัตลักษณ์นวัตกรรม (I: Innovation Identity) (4) จัดทำแผนที่ความคิด (D: Design Innovation Thinking) (5) สาธิตประเมินผล (E: Evaluate) และ (6) ปรับผลต่อยอด (A: Adjust and Action) และมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (mean 4.53, SD= 0.44) 2) คุณลักษณะแววนวัตกรอยู่ในระดับมาก (mean 4.01)   คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน, คุณลักษณะแววนวัตกร, อุตสาหกรรมบริการ   Abstract Innovative characteristics are traits that 21st-century learners need to meet the demands of the job market in the service industry. This research aims to: 1) develop an innovative thinking teaching model to enhance the characteristics of innovators in the service industry for undergraduate students; and 2) evaluate these characteristics among undergraduate students. The population comprised first-year undergraduate students from the Tourism and Service Innovation Branch, Faculty of Liberal Arts, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, specifically 87 students across 2 groups. The research instruments include: 1) an innovative thinking teaching model designed to enhance innovator characteristics; 2) a quality evaluation form for teaching and learning models; and 3) an evaluation form for innovator characteristics. The research method is research and development (R&D). The statistical analyses used in the research include mean and standard deviation. The research findings indicate that: 1) The innovative thinking teaching model for enhancing innovator characteristics in the service industry for undergraduate students (BK-IDEA) consists of six main steps: (1) Basic Knowledge Acquisition (B: Basic Knowledge), (2) Gap Identification (K: Knowledge Gap), (3) Innovation Identity Creation (I: Innovation Identity), (4) Designing Innovation Thinking (D: Design Innovation Thinking), (5) Evaluation Demonstration (E: Evaluate), and (6) Further Adjustment and Action (A: Adjust and Action). This model maintains a high level of quality (mean = 4.53, SD = 0.44). 2) The innovative characteristics among undergraduate students are assessed to be at a high level (mean = 4.01). Keywords : Innovative Instructional, Innovators Characteristics, Service Industry  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-12-26