ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต ์ ร่วมกบั กลวิธีการคิดเป็ นภาพและ กลวิธีแก้โจทย ์ปัญหาฟิสิกส ์ เชิงตรรกะของเฮลเลอร ์ และเฮลเลอร ์ ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
EFFECTS OF CONSTRUCTIVIST LEARNING METHOD WITH VISUAL THINKING STRATEGY AND HELLER AND HELLER LOGICAL PHYSICS PROBLEM SOLVING STRATEGY OF ELEVENTH GRADE STUDENTS
Abstract
บทคดัย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้และเปรียบเทียบมโนทัศน์ฟิสิกส์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้และเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพและกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์ แบบแผนที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเอกวิศวกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จ านวน 43 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดมโนทัศน์ฟิสิกส์ 3) แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที (t-test for dependent samples, t-test for one sample) ผลวิจัยพบว่า 1) มโนทัศน์ฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธีการคิดเป็นภาพและกลวิธีแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เชิงตรรกะของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คeส าคัญ : คอนสตรัคติวิสต์, กลวิธีการคิดเป็นภาพ, การแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของเฮลเลอร์และเฮลเลอร์, มโนทัศน์ฟิสิกส์, การแก้โทย์ปัญหาฟิสิกส AbstractThe purposes of the research are as follows: (1) to compare the pretest and posttest results physics concept of students and to compare the posttest results physics concept of students with the criterion of 60 percent, (2) to compare the pretest and posttest results physics solving problem ability of students and to compare the posttest results physics solving problem ability of with the criterion of 60 percent; and (3) to study satisfaction of students who learned through constructivist learning method with visual thinking strategy and Heller and Heller logical physics problem solving strategy. The research design was a one-group pretest posttest design. The sample of the research included 43 eleventh grade students in engineering major in the first semester of the 2023 academic year at Srinakarinwirot Prasarnmit Demonstration School (secondary). The sample for the study was obtained by cluster random sampling. The research instruments consisted of (1) lesson plans (2) physics concept test (3) physics problem solving test; and (4) learning management satisfaction questionnaire. The hypotheses were tested with a t-test for dependent samples and t-test for one sample. The results of the research were as follows: (1) students had physics concept score higher than before the instruction and higher than the 60 percent of the criteria at the .05 level of significance, (2) students had physics problem solving score higher than before the instruction and higher than the 60 percent of the criteria at the .05 level of significance; and (3) students who learned through constructivist learning method with visual thinking strategy and Heller and Heller logical physics problem solving strategy had satisfaction in high level of the criteria at the .05 level of significance. Keywords : Constructivist, Visual Thinking, Physics problem solving of Heller and Heller strategy, Physics concept, Physics problem solvingDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2023-12-29