รูปแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบนวัตกรรม ดำเนินการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบโครงร่างรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ 2) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ ดำเนินการ ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ 3) ประเมินประสิทธิผลจากการทดลองใช้รูปแบบ โดยสถานประกอบการ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบนวัตกรรม ประกอบกอบด้วยด้านปัจจัยนำเข้า (Input) คือ 1) หลักสูตรการบริหารจัดการการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) การคัดเลือกผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 3) ครูผู้สอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ 4) การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน ด้านกระบวนการ (Process) คือ 1) ความร่วมมือ 2) การบริหารจัดการ 3) การจัดการแผนการจัดการเรียนรู้ 4) การพัฒนาครูผู้สอนและครูฝึก 5) การสะท้อนการจัดการเรียนรู้ 6) การนิเทศการฝึกอาชีพ และ 7) ระบบทวิภาคี และด้านผลผลิต (Output) ผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะ และ 4) ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ 2) ประสิทธิภาพรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ ด้านความมีประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก และมีความสอดคล้องกัน และ 3) ประสิทธิผลรูปแบบ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก การมีงานทำ การมีรายได้ การศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพอิสระ ปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้น 15 % ปริมาณผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเพิ่มขึ้น 5.65 % ความร่วมมือของสถานประกอบการเพิ่มขึ้น 136.82 % จำนวนสถานประกอบการที่รับผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเข้าฝึกอาชีพ เพิ่มขึ้น 14.28% และความคิดเห็นของสถานประกอบการ ในภาพรวมมีโอกาสเป็นไปได้มากและมีความสอดคล้องกันDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2022-09-24 — Updated on 2022-09-24
Versions
- 2022-09-24 (2)
- 2022-09-24 (1)
Issue
Section
บทความวิจัย