รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Robotics ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
Keywords:
การคิดเชิงคำนวณ, กิจกรรม Robotics, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, รูปแบบการจัดการเรียนรู้Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Robotics ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Robotics ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ (1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ (2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดเชิงคำนวณ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดประเมินผล ระยะที่ 2 ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง ทั้งหมด 30 คน จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติmที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ Dependent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า 1.1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ มีกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้น 4 กระบวนการ คือ (1) การวิเคราะห์ปัญหา (Analyze Problem) (2) การออกแบบวิธีการและแก้ไขปัญหา (Design Solution) (3) การตรวจสอบการแก้ปัญหา (Inspect Solution) (4) การนำเสนอการแก้ปัญหา (Present Solution) 1.2) ผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ (มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00) 1.3) ผลการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-03
Issue
Section
บทความวิจัย