การศึกษาเทคนิคภูมิปัญญาจักสานงอบเพื่อออกแบบเครื่องเรือนหวาย

Authors

  • ลดาวัลย์ บุญกุศล สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปฐวี อารยภานนท์ สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเทคนิคภูมิปัญญาจักสานงอบสำหรับใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องเรือนหวาย 2) ออกแบบเครื่องเรือนหวายจากเทคนิคภูมิปัญญาจักสานงอบ และ 3) ประเมินความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบเครื่องเรือนหวายจากเทคนิคภูมิปัญญาจักสานงอบ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบประเมินความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาจักสานงอบต้องอาศัยความประณีตและความชำนาญในการคิดค้นเทคนิคประกอบงอบ โดยเฉพาะการทำรังงอบที่มีการสานโครงสร้างและลวดลายอันเป็นอัตลักษณ์ ซึ่งการนำเทคนิคภูมิปัญญาจักสานงอบมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบเครื่องเรือนสามารถสื่อถึงคุณค่าประกอบการสร้างรูปลักษณ์ขึ้นใหม่แต่ยังคงอัตลักษณ์ภูมิปัญญาไว้ 2) ผลการออกแบบเครื่องเรือนหวายจากเทคนิคการสานรังงอบแบบ 3 และ 4 ขา ยึดเส้นหวายด้วยการถักเงื่อนหัวแมลงวันแบบถี่จากเชือกร่มพบว่า ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาคะแนนความสำคัญที่เหมาะสมเพื่อเลือกรูปแบบเครื่องเรือนได้ 1 ชุด จำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 5 ค่าเฉลี่ย 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.88 และรูปแบบที่ 14 ค่าเฉลี่ย 4.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.06 3) ผลการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเครื่องเรือนหวายพบว่า ในภาพรวมทั้ง 2 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นระดับเหมาะสมมาก เมื่อพิจารณารูปแบบที่ 5 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเหมาะสมระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 และรูปแบบที่ 14 กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเหมาะสมระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-07-13