ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Keywords:
การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ,Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านก่อนเรียนและหลังเรียนและเทียบกับเกณฑ์ แบบแผนที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 31 คนที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ออนไลน์และชุดคำถามหลังการเรียนรู้ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ และ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบที (t-test for dependent samples, t-test for one sample) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) และมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่แตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60)Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-06-25
Issue
Section
บทความวิจัย