รูปแบบสมรรถนะครูเกื้อหนุนในระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน สำหรับอาชีวศึกษา

Authors

  • ปรัชญา เพียสุระ Department of Production Technology Education Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut's University of Technology Thonburi
  • สิทธิชัย แก้วเกื้อกูล ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Department of Production Technology Education Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut's University of Technology Thonburi
  • กุลจิรา ทองย้อย ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

สมรรถนะ, ครูเกื้อหนุน, ระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน, อาชีวศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุน ในระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน และสร้างเครื่องมือประเมินมาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุน การวิจัยมีการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน ตอนที่ 1 พัฒนามาตรฐานสมรรถนะของครูเกื้อหนุนในระบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการร่วมกับการทำงาน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตามสายงาน ดำเนินการจัดประชุมสนทนากลุ่มซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูล จำนวน 23 คน การวิจัยตอนที่ 2 การจัดทำเครื่องมือสำหรับการประเมินสมรรถนะของครูเกื้อหนุน โดยดำเนินการจัดประชุมสนทนากลุ่มเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลจัดทำเครื่องมือประเมินสมรรถนะจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน จากนั้นนำเครื่องมือประเมินคุณภาพผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ในการตรวจสอบหาความสอดคล้องระหว่างเครื่องมือกับวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาในการประเมินสมรรถนะ และนำเครื่องมือไปทดลองใช้กับครู จำนวน 45 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จากสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการขยายและยกระดับการจัดการอาชีวศึกษาทวิภาคีสู่มาตรฐาน ในกลุ่มภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า หน้าที่หลักของครูเกื้อหนุนสามารถแบ่งออกเป็น 3 หน้าที่ ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนเข้ารับการเรียนรู้ในสถานประกอบการ  2) จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน 3) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยหน่วยสมรรถนะรวมครูเกื้อหนุน มีจำนวน 13 หน่วย สมรรถนะของครูเกื้อหนุนสามารถแบ่งออกเป็นสมรรถนะทั่วไปจำนวน 12 หน่วย และสมรรถนะตามหน้าที่ จำนวน 16 หน่วย เครื่องมือสำหรับการประเมินสมรรถนะของครูเกื้อหนุนเป็นข้อสอบปรนัยตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน จำนวน 35 ข้อ ข้อสอบมีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ย เท่ากับ 0.87 และประสิทธิภาพของเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.77

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ปรัชญา เพียสุระ, Department of Production Technology Education Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut's University of Technology Thonburi

ดร.ปรัชญา เพียสุระ  ปัจจุบันตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ การศึกษาระดับปริญญาตรี ค.อ.บ.  (วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ระดับปริญญาโท วศ.ม.(วิศวกรรมการเชื่อม) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ระดับปริญญาเอก ปร.ด.(วิศวกรรมการผลิตและระบบ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ ได้แก่ การพัฒนามาตรฐานสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรม การพัฒนาการเรียนรู้ด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีการเชื่อม และการออกแบบการทดลองทางวิศวกรรม

สิทธิชัย แก้วเกื้อกูล, ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี Department of Production Technology Education Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut's University of Technology Thonburi

รศ.ดร.สิทธิชัย แก้วเกื้อกูล ปัจจุบันตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ การศึกษาระดับปริญญาตรี ค.อ.บ.  (วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  ระดับปริญญาโท  M.S. (Industrial Engineering), University of Miami, U.S.A. และระดับปริญญาเอก Ph.D. (Industrial Engineering), Clemson University, U.S.A. สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ ได้แก่ การพัฒนาการเรียนรู้ด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม การบริหารจัดการอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพในงานผลิต

กุลจิรา ทองย้อย, ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหาร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นางสาวกุลจิรา ทองย้อย ปัจจุบันเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และทำงานในตำแหน่ง นักพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ค.อ.บ.(วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Downloads

Published

2021-06-04