เทคโนโลยีการตัดสับฟางและตอซังร่วมกับการบริหารจัดการธาตุอาหารพืชในระบบนาน้ำขัง

Authors

  • ไพโรจน์ นะเที่ยง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ. อุตรดิตถ์ 63000
  • จันทร์เพ็ญ ชุมแสง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ. อุตรดิตถ์ 63000
  • กันต์ อินทุวงศ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ. อุตรดิตถ์ 63000

Keywords:

ฟางและตอซัง, การจัดการธาตุอาหารพืช, ระบบนาน้ำขัง

Abstract

การเผาทำลายฟางและตอซังหลังการเก็บเกี่ยวส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์โครงสร้างและสมบัติทางเคมีของดินนาในระยะยาวการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของการไถกลบฟางและตอซังแบบตัดสับในอัตราส่วนปกติ700 ก.ก./ไร่ร่วมกับการบริหารจัดการธาตุอาหารพืชต่อสมบัติทางเคมีของดินนาบางประการหลังการปลูกปริมาณผลผลิตและต้นทุนการผลิตวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกจำนวน4 ตำหรับๆละ3 ซ้ำผลการทดลองพบว่าการไถกลบฟางและตอซังแบบตัดสับในอัตราส่วนปกติร่วมกับการบริหารจัดการธาตุพืชที่มีการใช้สารชีวภัณฑ์และปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราส่วน25 ก.ก./ไร่มีผลทำให้ค่าpH เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเฉลี่ย0.4-0.6 หน่วยpH ค่าอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย (0.1-0.29%) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนของดินมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติค่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับค่าปริมาณโพแทสซียมที่แลกเปลี่ยนได้ปริมาณผลผลิตมีจำนวนร่วงต่อกอโดยเฉลี่ย40-42 ร่วง/กอจำนวนเมล็ดดีต่อร่วงโดยเฉลี่ย105-110 เมล็ด/ร่วงและน้ำหนักของเมล็ดข้าว/100 เมล็ดโดยเฉลี่ย3.60-3.68 กรัมที่ค่าความชื้น25.327 % ซึ่งให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าตำหรับควบคุมโดยมีต้นทุนการทำนาเฉลี่ยเพียง6,102 บาท/ไร

Downloads

Author Biography

ไพโรจน์ นะเที่ยง, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 27 ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ. อุตรดิตถ์ 63000

ไพโรจน์ นะเที่ยง จบปริญญาโท สาขาอุตสาหกรรมศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการในปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในปี 2540 เป็นอาจารย์หลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหการ ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี 2555

Downloads

Published

2020-11-27