การพัฒนาแนวทางการจัดประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนตามกรอบสมรรถนะวิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต

Authors

  • ภานุวัฒน์ ศิรินุพงศ์

Abstract

ภานุวัฒน์  ศิรินุพงศ์   คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   *Corresponding author e-mail: panuwats@g.swu.ac.th   บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และพัฒนาแนวทางการจัดประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนตามกรอบสมรรถนะวิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มีความสอดคล้องตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562 จาก 4 กลุ่มวิชา 20 รายวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาหลักการอาชีวศึกษาและการงานพื้นฐานอาชีพ กลุ่มวิชางานช่างสำหรับครู กลุ่มวิชาบทบาทและความสำคัญของอาชีวศึกษาและการงานพื้นฐานอาชีพในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และกลุ่มวิชาแนวโน้มของงานอาชีพทางด้านอาชีวศึกษาและการงานพื้นฐานอาชีพ ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยสูงกว่า 4.21) ทุกรายการประเมิน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนตามกรอบสมรรถนะวิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ตามโครงสร้างของหลักสูตรฯ นั้นเพื่อให้การจัดประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียนตามกรอบสมรรถนะวิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตเป็นไปได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตควรจัดสัดส่วนของการจัดการเรียนรู้ดังนี้ หลักการ ทฤษฎี สัดส่วนร้อยละ 36 ทักษะ ปฏิบัติ สัดส่วนร้อยละ 47 คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ สัดส่วนร้อยละ 7 และปฏิบัติการสอนวิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา สัดส่วน ร้อยละ 10   คำสำคัญ : ประสบการณ์วิชาชีพ กรอบสมรรถนะ วิชาเอกอุตสาหกรรมศึกษา PROFESSIONAL EXPERIENCES GUIDELINES IN INDUSTRIAL EDUCATION’S MAJOR COURSES OF BACHELOR OF EDUCATION DEVELOPMENT   Panuwat  Sirinupong   Faculty of Education, Srinakarinwirot University   *Corresponding author e-mail: panuwats@g.swu.ac.th Abstract This research in order to synthesize knowledge and develop guidelines for organizing professional experience while studying according to the competency framework in major industrial education Bachelor of Education program consistency with the Bachelor's degree standard ( 4 years course) 2019 from 4 subject groups, 20 courses, which are Vocational principles and basic career, Mechanic work group for teachers,  Vocational groups and the importance of vocational education and basic occupation in the development of quality of life and subject groups, Trends of vocational careers and basic career careers at the highest level (The average is higher than 4.21) every evaluation items. The results of the research found that the guidelines for organizing professional experience during studies in accordance with the competency framework in major Industrial Education Bachelor of Education Program. According to the curriculum structure in order to provide professional experience while studying according to the competency framework in the major industry studies. The graduate study program is appropriate and consistent with the graduate education program. The proportion of learning management should be organized as follows: Theory of principles 36% Percentage Skill 47% Ethics, Professional Ethics 7 percent share and 10 percent teach majors. Keywords: Professional Experiences Competency Guidelines Industrial Education

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads