แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ เรื่องความรู้เบื้องต้นของนาโนเทคโนโลยี
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ (LPLA) เรื่อง ความรู้เบื้องต้นของนาโนเทคโนโลยี (FKN) โดยทำการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ แผนจัดการเรียนรู้นี้ถูกสร้างตามการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นของไฮเซนคราฟ (Eisenkraft) และนำไปพัฒนาด้วยการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศ หลังจากนั้นนำแผนจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาแล้ว นำไปทดลองกับกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในภาคกลางประเทศ ทำการเลือกนักเรียน 60 คน จากนักเรียน จำนวน 216 คน แล้วนำมาแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ด้วยวิธีการจับคู่ (Matching) โดยแต่ละคู่ของนักเรียนกลุ่มทดลอง-กลุ่มควบคุม จะมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเท่ากัน ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง ความรู้เบื้องต้นของนาโนเทคโนโลยี สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่อง ความรู้เบื้องต้นของนาโนเทคโนโลยี สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ : รูปแบบการสอนแบบ 7 ขั้น, วัฏจักรการเรียนรู้, ทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้, นาโนเทคโนโลยี A 7E LEARNING CYCLE APPROACH AND USABILITY INSTRUCTION OF FUNDAMENTAL KNOWLEDGE ON NANOTECHNOLOGY Unchada Phuapaiboon Abstract The aims of this research were to develop and construct Fundamental Nanotechnology Knowledge (FKN) lesson plans for learning activities (LPLA) and to analyze the effectiveness of the product, i.e, LPLA. Lesson plans were created using the Eisenkraft 7E learning-cycle and developed together with Grade 11 students at a secondary school in the Eastern Region (E). The lesson plans were then tried on Grade 11 students at a secondary school in the Central Region (M). From a population cohort, of 216 students, 60 students were chosen by random matching to form an experimental group (n = 30) and a control group (n = 30). Students in the control and experimental groups performed similarly in a pre-achievement test. The results showed that the student achievement after participating in the designed LPLA was significantly greater than that of those who studied under the regular lesson plans at the .01 level of significance: post-LPLA scores showed a significant improvement over pre-LPLA scores. Keywords : 7E Learning Model, Learning Cycle, Constructivism, NanotechnologyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย