แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระดับอาชีวศึกษาของประเทศไทย

Authors

  • รุจน์ ฦาชา
  • นันทิณา นิลายน
  • วรรณภา โคตรพันธ์
  • ธนากร ทองประยูร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะ แนวทางการจัดการเรียนการสอน และจุดเด่นรวมถึงจุดที่จะต้องพัฒนาในด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักศึกษาอาชีวศึกษาของประเทศไทย คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาอาชีวศึกษาของไทยควรมีคุณลักษณะด้านภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒธรรม ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับความรู้วิชาชีพและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดกว้างทางความคิดและยอมรับความแตกต่างของผู้อื่นนอกจากนั้นการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะรับบุคคลเข้าทำงานในบริษัทข้ามชาติ จึงต้องเร่งพัฒนาคุณสมบัตินี้ให้กับนักศึกษาอาชีวศึกษา (2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนเน้นหลักการสำคัญคือการตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในบริบทของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันมากกว่าเน้นการสอนไวยากรณ์และการแปลความหมายของภาษาโดยการจัดให้นักศึกษาอาชีวศึกษามีประสบการณ์ตรงร่วมกับชาวต่างชาติ และ (3) จุดเด่นของนักศึกษาอาชีวศึกษา คือ มีความหยืดหยุ่น เปิดกว้าง และมีความอดกลั้น ส่วนจุดที่จะต้องพัฒนา คือ ความสามารถในการสื่อสารขั้นพื้นฐาน ความคิดสร้างสรรค์ และความกล้าในการแสดงความคิดเห็น คำสำคัญ : การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, อาชีวศึกษา, สมรรถนะระดับโลก GUIDELINES FOR LANGUAGE AND INTERCULTURAL COMMUNICATION INSTRUCTION AT VOCATIONAL EDUCATION IN THAILAND  Ruj Luecha, Nantina Nilayon, Wannapa khotthaphan, Thanakorn Thongprayoon Abstract: This qualitative research aims at proposing intercultural communicative characteristics of and instructional guidelines for Thai vocational students. It also aims to analyze the students’ strengths and weaknesses in relation to language and intercultural communication. The data collection was conducted based on documents and in-depth interviews with twelve experts. Content analysis was deployed using inductive method. Semi-structured interview questions were used.  The result shows that (1) Thai vocational students should possess basic knowledge of English for communication, professional knowledge, knowledge about the target culture, communicative English language skills, ability to be open-minded and to accept individual differences. Thai vocational students should equip with intercultural communicative competence as it is required by multinational corporations; (2) the instruction should enhance students’ understanding and awareness of the importance of practical intercultural communication skills in diverse cultural context by providing direct interaction with people from other cultures rather than on the language function and grammar translation; and (3) the strengths of Thai vocational students include flexibility, open mindedness, and patience, whereas the weaknesses include basic communication ability, creativity, and courage to express their opinions.   Keywords : Intercultural Communication, Teaching English, Vocational Education, Global Competence

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads