การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

Authors

  • ศิริพร ลีพิมพ์
  • นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
  • มนชยา เจียงประดิษฐ์

Abstract

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว Development of Learning Management Using the Learning Cell Learning Package to Enhance Problem Solving Ability on One Variable Linear Equation ศิริพร ลีพิมพ์ ,  นงลักษณ์ วิริยะพงษ์,  มนชยา เจียงประดิษฐ์ SiripornLeepim,  Nongluk Viriyapong,  Monchaya Chiangpradit สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Mathematics Education, Faculty of Science, Mahasarakham University   *Corresponding author e-mail:  leepim44@gmail.com บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 6) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 7) ศึกษาความพึงพอใจทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนคอนสารวิทยาคม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ชุดการเรียนคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) และ t-test (One-samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา มีประสิทธิภาพ 80.10/75.33 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 0.59  3) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  5) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  6) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  7) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก   คำสำคัญ:ชุดการเรียนแบบเรียนเป็นคู่, ความสามารถในการแก้ปัญหา   Abstract: The purposes of this research were 1) to develop the classroom activities by enhancing the learning cell method that focuses on problem-solving ability which reliable on criteria 70/70 2) to investigate the effectiveness index of enhancing learning cell method to promote the High school student grade 8 problem-solving ability of one variable linear equation concept 3) to compare pre and post scores of the High school student grade 8learning achievement who engaged problem-solving ability with learning cell method 4) to compare the percentages (based on 70 %) of High school student grade 8learning achievement who learn with the learning cell classroom on one variable linear equation concept 5) to compare High school student grade 8 mathematics problem-solving ability before and after learning by learning cell activities 6) to compare the percentages (based on 70 %) of High school student grade 8mathematics problem-solving ability who learn with the learning cell classroom  and 7) to investigate High school student grade 8satisfaction in teaching by using learning cell activities to engage problem-solving ability. The sample groups used in this research were 30 High school student grade 8who had different abilities and were studying in the first semester in 2017 at Konsarnwittayakhom School and were collected by cluster random sampling method. The instruments used in the study were: lesson plans by using learning cell activities to encourage students’ problem-solving ability of one variable linear equation concept, mathematics learning series, an achievement test, open-ended test was employed to investigate the students’ mathematics problem and the students’ satisfaction questionnaire. The statistics used for analyses the collected data were mean, percentage and standard deviation, t-test (Dependent Samples) and t-test (One-samples) were used for the hypothesis testing.  The results of this study were as follows: 1) The learning cell method that use in mathematic classroom to engage students’ problem-solving ability of one variable linear equation concept had efficiency on 80.10/75.33.  2) The effectiveness index of enhancing learning cell method was 0.59. 3) After treated by learning cell method, the learning achievement scores of High school student grade 8 were increased significantly (p< .05). 4) The percentages of High school student grade 8learning achievement after teaching by learning cell activities were higher than 70% significantly (p< .05). 5) Post-test scores of High school student grade 8mathematics problem-solving ability were higher than pretest scores significantly (p< .05).  6) The percentages of High school student grade 8mathematics problem-solving ability after teaching by learning cell activities were higher than 70% significantly (p< .05).  7) The investigation of satisfaction in teaching by using learning cell activities to engage problem-solving ability found that most students had a satisfaction as high level. Keyword:Learning Cell Method, Problem-Solving Ability

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads