การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพตรงตาม ความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการพัฒนาประเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Abstract
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพตรงตาม ความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการพัฒนาประเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ Higher Education Management for the Production of Qualified Human Resources in Accordance with Labor Market Needs and National Development in Information Technology ประกอบ คุณารักษ์1* , วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์2 สุรชัย สิกขาบัณฑิต3 , ธัญสินี เล่าสัม4 , ลัดดาวรรณ ทองใบ5 Pragob Kunarak1*, Weerawat Utairat2, Surachai Sikkhabandit3, Thanyasinee Laosum4 , Laddawan Tongbai5 1,2,3,5 มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 4มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1,2,3,5 Eastern Asia Universty 4Sukhothaithamathirat Open University *Corresponding author e-mail: pragob@eau.ac.th บทคัดย่อ การวิจัยเชิงนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์ สี่ ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการกำลังคนในระดับอุดมศึกษาของตลาดแรงงานในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และแนวโน้มความต้องการใน 5 ปีข้างหน้า 2) เพื่อศึกษาสัดส่วนการผลิต อัตราการมีงานทำของบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาของเอกชนและของรัฐ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของภาครัฐในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเอกชนและสถาบันการศึกษาของรัฐ ในการผลิตบุคลากรให้สนองตอบความต้องการในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สอดคล้องกับตามความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับการพัฒนาประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักมี 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารหรือผู้แทน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและของรัฐ รวม 8 คน กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารหรือผู้แทนธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้บุคลากรด้าน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศรวม 16 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้กำหนดนโยบาย รวม 4 คน และส่วนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารหรือผู้แทน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและของรัฐ รวม 83 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้บริหารหรือผู้แทนธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้บุคลากร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ รวม 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และ 2) แบบสอบถามข้อเท็จจริงเชิงการประเมิน ข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างเดือน ตุลาคม 2559 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2560 ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อค้นพบจากการวิจัย สรุปได้ 4 ประการ ดังนี้ 1) ปัจจุบันธุรกิจอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มีความต้องการบุคลากร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและใน 5 ถึง 10 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2560 – 2569) ก็ยังมีแนวโน้มที่ใช้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางและมีทักษะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี 2) บัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สำเร็จการศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2553-2557 มีจำนวนเพิ่มขึ้นและลดลงแตกต่างกันในแต่ละสถาบัน เมื่อพิจารณาร้อยละการมีงานทำระหว่างปีการศึกษา 2554-2558 บัณฑิตสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าอยู่ระหว่าง 7.69 ถึง100 3) รัฐควรมีการกำหนดแผนการผลิตบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษานำไปเป็นแนวทางในการผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของประเทศ และรองรับตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มความต้องการบุคลากร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศปริมาณสูงในอีก 5-10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2560-2569) รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ และด้านการพัฒนาบุคลากร และ 4) รูปแบบและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ (1) บทบาทของรัฐครอบคลุมถึงการบริหารจัดการ การงบประมาณ และการพัฒนาบุคลากร และ (2) บทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ครอบคลุมถึงการบริหารจัดการวิชาการกับการบริหารจัดการทั่วไป การงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และการพัฒนาอาจารย์และบุคลากร คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา, การผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ, เทคโนโลยีสารสนเทศ Abstract The policy research was aimed to: 1) identify IT human resources needs and trends in the next 5 years, 2) demonstrate the proportion of production and rate of employment, 3) formulate the government’s roles for the promotion of human resources development, and 4) propose a suggestive model and appropriate guideline for the development of higher education programs in the information technology (IT) areas of both public and private higher education institutions. Samples drawn comprised 2 parts. The first part was a qualitative research where the key informants were 8 executives/representatives of the selected public and private institutions, 16 executives/representatives of industrial firms where the IT graduate were employed, and 4 highly selective experts and policymakers. The second part was a quantitative research where the samples were 83 selected executives/representatives of the public and private institutions offering the IT program, and 220 executives/representatives of industrial firms where those IT graduates were employed. The instrument used for collecting data included a semi-structured interview form and an evaluative questionnaire. All data gathered during October 2016–February 2017 were then analyzed by frequency, percentage, Arithmetic Mean, Standard Deviation, and content analysis. The findings revealed that: 1) Major industrial business were currently in needs of graduate personnel in the area of information technology and gradually increase for the next 5 - 10 years (2017 -2021) especially those graduates who were competent in their specific areas accompanied with English competency. 2) The number of information technology graduates during 2010–2014 academic years swingy increased and decreased among different institutions. The employment percentage, for example, during 2011–2015 academic years, the information technology graduates were 7.67–100. 3) The government should have to set up a plan of information technology program as a guideline for increasing the number of graduates in this area in order to cope with the rising trend in the next 5–10 years (2017–2026), including managerial, financial, and personnel development supports. 4) A suggestive model and appropriate guidelines in programming higher education in information technology encompassed two factors: the first was the government roles covering management, finance, and personnel development; and the second was the roles of higher education institutions covering academic and general management, financial supports for academic personnel and student activities, and academic personnel development as well. Keywords: Higher Education Management, Production of Qualified Human Resources, Information Technology.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย