อิทธิพลของปัจจัยทางจิตสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตครู

Authors

  • ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ
  • สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
  • ดุษฎี โยเหลา

Abstract

อิทธิพลของปัจจัยทางจิตสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตครู Influence of Psychosocial Factors on the Behavior of Using Information Technology  for  Teaching in The Twenty-First Century for Pre-Service Teachers. ขวัญหญิง  ศรีประเสริฐภาพ1*, สุนีย์ เหมะประสิทธิ์2, ดุษฎี โยเหลา3 Khwanying Sriprasertpap1,Sunee Haemaprasith2,Dusadee Yoelao3 1,2คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1,2Faculty of Education, Srinakharinwirot University 3Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University   *Corresponding author e-mail: khwanying@g.swu.ac.th บทคัดย่อ การศึกษาวิจัย เรื่อง อิทธิพลของปัจจัยทางจิตสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตครูมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางจิตสังคมที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 349คน วิเคราะห์ข้อมูลเทคนิคการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ (Structural equation modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน ยอมรับสมมติฐาน ดังนี้            1)  การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .22)        2) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .32)  3) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้การใช้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .37)        4) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .17)  5) การรับรู้ความง่ายในการใช้งานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .13)   คำสำคัญ : ปัจจัยทางจิตสังคม,พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน, นิสิตครู, ศตวรรษที่ 21 Abstract: The aim of this research were to study influence of psychosocial factors on the behavior of using information technology for teachingin the twenty-first century for pre-service teachers. The samples of the study were 349 students in Bachelor's degree program  The sampling was based on the Yamane formula at a 95% confidence level(α = .05). The data wereanalyzed with structural equation modeling (SEM). The research findings revealed that  The perceived behavior control was directly affected to behavior of using iinformation technologyat .05level of significant. 2) The subjective norm was directly affected to behavior of using iinformation technology at .05level of significant. 3) The perceived ease of use was directly affected to perceived usefulness at .05level of significant. 4) The perceived ease of use was directly affected toattitude toward information technology using at .05 level of significant. 5) The perceived ease of use was directly affected tobehavior of using information technology for teachingat .05 level of significant.     Keywords : Psychosocial Adjustment Factor, Behavior of Using Information Technology, Pre-service Teachers, In 21st Century.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads