การเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษา โดยการให้คำปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม

Authors

  • บุษบา หะริณพลสิทธิ์
  • พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์
  • สกล วรเจริญศรี

Abstract

การเสริมสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยการให้คำปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม บุษบา หะริณพลสิทธิ์,พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์,สกล วรเจริญศรี สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) เปรียบเทียบทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษาก่อนและหลังการให้คำปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎีเหตุผล อารมณ์ พฤติกรรมประชากร คือ นักเรียนอาชีวศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 3  ปีการศึกษา 2560  แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มกลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนอาชีวศึกษา จำนวน 254 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนอาชีวศึกษา จำนวน 8 คน ที่มีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกตั้งแต่ เปอร์เซนไทล์ ที่25 ลงมาและสมัครใจในการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสอบถามทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) การให้คำปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติในการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test for Dependent Samples  ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนรายองค์ประกอบ พบว่า ความหยุ่นตัวอยู่ในระดับสูงการมองโลกในแง่ดี การเชื่อมั่นในความสามารถของตนและความหวังอยู่ในระดับปานกลาง 2) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยรวมและรายองค์ประกอบ ทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎีเหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ:ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก การให้คำปรึกษากลุ่มแนวทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ พฤติกรรม THE ENHANCEMENT OF POSITIVE PSYCHOLOGY CAPITAL OF VOCATIONAL STUDENTSTHROUGH RATIONAL EMOTIVE BEHAVIORGROUP COUNSELING BusabaHarinpolsiti, PatcharapornSrisawat, SkolVoracharoensri Research and Development on Human Potentials Srinakharinwirot University Abstract: The purposes of this research were 1) to study positive psychology capital of vocational students. 2) to compare the vocational students’ positive psychology capital before and after participating in rational emotive behavior group counseling. The population werevocational students. The sample were arranged into 2 groups. 1) The first group of 254 vocational students was stratified randomly selected. 2) The second group was 8 vocational students with total positive psychology capital’s scores at 25th percentile and lower voluntarilyto participate in the rational emotive behavior group counseling. The data collection instruments were 1) the positive psychology capital’s questionnaire 2) the rational emotive behavior group counseling. The statistics employed in data analysis were mean, standard deviation and t-test for dependent samples for hypothesis testing. The results of research were found 1) Total positive psychology capital of vocational students revealed moderately level, separately shown by each factor resilience was high, other 3 factors said; hope, Self-Efficacy, optimism revealed moderately level. 2) Statistically shown significant differences in the total positive psychology capital and in each factor which be identified by resilience, hope, Self-Efficacy, optimism were found before counseling and after counseling at .05 level. Keyword: Positive Psychology Capital, Rational Emotive Behavior Group Counseling

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads