การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้าน: กรณีศึกษาประเพณีกิน ข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี Functional Analysis of Folk Media: A Study of Karen’s Wrapped Rice Feast in Suan Phueng District, Ratchaburi Province
Abstract
การศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้าน: กรณีศึกษาประเพณีกินข้าวห่อของชาวกะเหรี่ยง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ศึกษาสื่อพื้นบ้านประเภทสื่อพิธีกรรม โดยเน้นประเด็นบทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมเรียกขวัญ ในประเพณีกินข้าวห่อ ซึ่งเป็นสื่อพื้นบ้านที่มีมายาวนานมากกว่าร้อยปี ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนในชุมชนมีความเปลี่ยนแปลง เจ้าพิธีหรือผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนทยอยหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจประวัติความเป็นมา ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของสื่อพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ อีกทั้งการศึกษาสื่อพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ยังมีน้อย ทำให้การสืบทอด หรือการธำรงรักษาประเพณีกินข้าวห่อในอนาคตอาจไม่สมบูรณ์ ผลการศึกษาพบว่าพิธีกรรมเรียกขวัญ ในประเพณีกินข้าวห่อมีบทบาทหน้าที่ในอดีตที่คงอยู่จนถึงปัจจุบัน และแสดงได้เด่นชัดในระดับปัจเจกบุคคล ได้แก่ หน้าที่ในการเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน การเสริมขวัญและกำลังใจ ส่วนในระดับครอบครัว ได้แก่ หน้าที่เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัวและเครือญาติ และหน้าที่เป็นพื้นที่นำเสนออาหารพื้นบ้านของกะเหรี่ยง ส่วนในระดับชุมชน ได้แก่ หน้าที่ในการสร้างความสามัคคี ส่วนบทบาทหน้าที่ที่สูญหายไปในประเพณีกินข้าวห่อนั้น คือ การเกี้ยวพาราสี และบทบาทหน้าที่ที่เพิ่มใหม่ในระดับปัจเจกบุคคล คือ การสร้างรายได้ ส่วนในระดับชุมชนนั้น คือ บทบาทในการสร้างเครือข่ายเยาวชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพQualitative research was used to study the feast of eating wrapped rice (Ang Mi Thong), an ethnic tradition practiced by the Pwo Karen, or Karen people, in Suan Phueng, a district in the western part of Ratchaburi Province, western Thailand. Folk media and ritual were examined in how the feast morally affects individuals, families, and communities. Results were that the feast continues to play a pronounced role in enhancing individual moral identity, while strengthening family ties among traditional Karen participants. By promoting happiness and longevity, the feast also supports community togetherness. Whereas in the past, the feast was used as a form of courtship, it is more lately on an individual level about profit and a community level about creating a network promoting health among younger people. The identity of the Karen community is clearly rooted at the individual, family, and community levels. The feast supports the maintenance of folk media, including the motivation for people to leave their homes to home to participate in the feast. While courtship associations have disappeared, a network of health promotion benefits the community.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย