การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ The Development of an Internet-Based Computer Instruction : Internet Technology
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ วิชาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ หาประสิทธิภาพของบทเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ การสอน แบบซ่อมเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ วิชาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1.บทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริม บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่องการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ 2.แบบทดสอบหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3.แบบสอบถามหาความพึงพอใจของผู้เรียน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต สาขาคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จํา นวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริมที่สร้างขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพ 90.61 / 84.72 สูงกว่าเกณฑ์ที่ กําหนด 80/80 เมื่อนํา คะแนนสอบก่อนเรียนและคะแนนสอบหลังเรียนมาวิเคราะห์เพื่อหา ประสิทธิผลพบว่าได้ประสิทธิภาพหลังกระบวนการเรียน ( E post ) = 84.72 และ ประสิทธิภาพก่อนกระบวนการ ( E pre ) = 21.78 สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริมที่สร้างขึ้นนี้ทํา ให้ผู้เรียนมีประสิทธิผลทางการเรียนเท่ากับ 62.94 % สามารถที่จะนํา ไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจ ได้ และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน แบบซ่อมเสริมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 อยู่ในระดับดีมากคําสําคัญ : พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ / สื่อปฏิสัมพันธ์บนเว็บเพจThe purposes of the research were to develop Computer Instructional Package of Interactive webpage design and to find out an package learning effectiveness satisfaction, and efficiency learners. The research tools were: 1.Computer Instructional Package of Internet Technology 2.An achievement test and 3.Questionnaire of satisfaction. The research sample group consists of 30 students from Computer for communications College of Social Communications Innovation Srinakharinwirot University. The result of this research revealed that the efficiency of the package was 90.61/ 84.72, which were higher than provided value 80/80. The efficiency (E) result of pretest and posttest showed that the E post (84.72) was higher than E pre (21.78). It could be concluded that this particular Computer Instructional Package built up learning effectiveness = 62.94 %, which might be applicable for Internet Technology courses. The mean value of learners satisfaction was high at 4.56Keywords : Development of Internet-Based Computer / Internet TechnologyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
บทความวิจัย