การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล

Authors

  • ณรงค์ เหล่าคุปตะวาณิชย์
  • รังสรรค์ ประเสริฐศรี
  • สุรวุฒิ ปัดไธสง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ(1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (2) เพื่อศึกษาความรู้ในเรื่องการป้องกันอาชญากรรม ของประชาชนในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและ อุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชน (4) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ประสบการณ์ด้านอาชญากรรม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือรัฐ และเขตพื้นที่ (โรงพักเกรด A : พื้นที่ทำเลทอง และโรงพักเกรด B : พื้นที่ทั่วไป) และ (5) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ส่วนร่วมในผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับเป็นสำคัญ รองลงมาร่วมตัดสินใจและวางแผน ร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม และร่วมในการติดตามประเมินผลซึ่งประชาชนทั้งในโรงพักเกรด A : พื้นที่ทำเลทอง และโรงพักเกรด B : พื้นที่ทั่วไป ให้ส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมไม่แตกต่างกัน โดยมีความรู้ในเรื่องการป้องกันอาชญากรรมให้ความสำคัญกับความรู้ด้านการป้องกันอาชญากรรมของครอบครัวเป็นลำดับแรก รองลงมาให้สนใจในการป้องกันตนเองจากอาชญากรรมในบ้านพักอาศัย และในชุมชน โดยอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนคือ ความไม่พร้อมของประชาชนที่ต้องทำงาน ไม่สะดวกในการเข้าร่วมป้องกันอาชญากรรม ดังนั้นภาครัฐควรเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารให้ประชาชนได้ใช้ในการมีส่วนร่วม ในการติดต่อสื่อสารผ่านสื่อโซเซียลมีเดียให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่สื่อสารกับประชาชนไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ หรือความเข้าใจผิดของประชาชนในการร่วมป้องกันอาชญากรรมที่เป็นหน้าที่ของประชาชนเช่นกัน (2) ความรู้ในเรื่องการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรมของครอบครัวมากที่สุด รองลงมามีความรู้ในการป้องกันอาชญากรรมจากชุมชน และในบ้านพักอาศัย โดยแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักเพื่อนบ้านเพื่อช่วยเป็นหูเป็นตาในความปลอดภัย (3) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม โดยปัญหาสำคัญคือ ความไม่พร้อมของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอทัศนคติและค่านิยมที่แตกต่างกันระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน (4) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, ด้านร่วมในการตัดสินใจและวางแผน ประชาชน มีอายุ ระยะเวลาอยู่ในกรุงเทพฯ ร่วมในกิจกรรมของชุมชนหรือรัฐ และเขตพื้นที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, ด้านร่วมในปฏิบัติกิจกรรมประชาชนที่มีอายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ประสบด้านอาชญากรรมแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, ด้านร่วมในผลประโยชน์ ประชาชนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, ด้านร่วมในการติดตามและประเมินผลประชาชนที่มีอายุ อาชีพ ระยะเวลาพักอาศัยในกรุงเทพฯ และประสบการณ์ด้านอาชญากรรมแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(5) จากผลการวิจัยนำไปสู่การวิเคราะห์ของผู้วิจัยเพื่อพัฒนาและสร้างรูปแบบการพัฒนาออกเป็น 13 ยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม และ 48 โครงการ/กิจกรรม สู่การปฏิบัติที่ต้องดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ภายใน 3 ปีคำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน / การป้องกันอาชญากรรม / กองบัญชาการตำรวจนครบาลThe purposes of this study have 5 objectives: (1) to investigate the participation of the public in crime prevention in the area of the Metropolitan Police Bureau (2) to study the knowledge of crime participation of individuals in the area of the Metropolitan Police Bureau (3) to study the problems and obstacle to participate in crime prevention (4) to compare participation in crime prevention by sex, age, status, education, occupation, income, time of living in Bangkok,  experience with crime,  participation in activities of the community or state and surrounding areas (The station at grade A and grade B) and (5) to develop and offer a model of public participation in crime prevention in the area of the Metropolitan Police Bureau. The data were drawn from people via questionnaire of 1,111 persons, the station grade A 762 persons and the station grade B 349 persons in the Metropolitan Police Bureau, were analyzed for the purposes of research. The findings were as follows: (1) Participation in the benefits the people receive is important, followed by participation decisions and planning in the activities and  in the evaluation. The participation of people in both the station at grade A and grade B in crime prevention is not different. Knowledge about crime prevention focuses first on crime prevention knowledge of the family. Followed by crime prevention in their own homes and in the community. The obstacles to the participation of the public in crime prevention is that the public is not ready for the job.  They feel inconvenient to participate in crime prevention, Therefore, the government should increase the channels of communication that are able to engage in communications via  social media in accordance with the society of  today. The communication of  the public officials do not meet the objectives or misleading the public in crime prevention  which is also a joint responsibility of the public as well. (2) Knowledge of the public in crime prevention in the area of the Metropolitan Police Bureau, most knowledgeable about crime prevention most families. Minor knowledge of the community in crime prevention and residential recommended to family members, friends, neighbors to act in safety.(3) Problems and barriers to participation in crime prevention, a key problem is not with the public to take part in crime prevention. The performance of officers is not enough, different attitudes and values between staff and residents. (4) It was found from a comparison of the participation of the public in crime prevention by sex, age, marital status, occupation, income, time/dissertation of stay in Bangkok, experience with crime and participation in the community/sex/area that : 1. Sex was not found to be related to crime prevention 2. Age dissertation of stay in Bangkok, and participation in community/area were found to be related to crime 3. In terms of involvement in decision working are planning age, maribel status, education, working, income, dissertation of stay in Bangkok and experience with crime were found to be related to crime prevention 4. In terms of activities, monthly income and dissertation of stay in Bangkok were found to be related to crime prevention 5. In terms of benefits received, age, occupation, dissertation of stay in Bangkok and experience with crime sere found to be related to crime prevention and 6. In terms to evaluation and follow-um. (5) The model created by the researcher/author consists of 13 strategies of participation in crime prevention together and 48 projects / activities for implementation within 3 years.Keywords : Participation of People / Towards The Crime Prevention / The Metropolitan Police Bureau 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads