การสื่อสารประเด็นสังคมของเพจสายดาร์กในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาเฉพาะกรณี “เพจอีจัน”
Keywords:
กระบวนการสื่อสาร, ประเด็นสังคม, สังคมออนไลน์, เพจสายดาร์ก, เฟซบุ๊กเพจอีจัน, Communication Process, Social Issue, Social Network, Dark Fanpage, E-Jan Facebook FanpageAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาเรื่องการสื่อสารประเด็นสังคมของเพจสายดาร์กในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาเฉพาะกรณี เพจอีจัน เป็นงานวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดทำเฟซบุ๊กเพจที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าค่าความแตกต่างของตัวแปรเรื่องอายุและระดับการศึกษาของผู้รับสารส่งผลต่อพฤติกรรมการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นการสื่อสาร ส่วนระยะเวลาที่ผู้รับสารได้ติดตามเฟซบุ๊กเพจอีจัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .253 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ระยะเวลามีผลต่อการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคิดเห็นของผู้รับสาร ผลวิจัยเชิงคุณภาพตอบคำถามการวิจัยได้ ดังนี้ (1) กระบวนการสื่อสารของเฟซบุ๊กเพจอีจันใช้หลักทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์ โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาสารก่อนส่งสารไปยังผู้รับสารผ่านช่องทางต่าง ๆ และมีการวิเคราะห์ผู้รับสารก่อนและหลังการส่งสาร (2) ปัจจัยที่ทำให้เฟซบุ๊กเพจอีจันประสบความสำเร็จ คือ การนำเสนอที่รวดเร็ว มีนักข่าวลงพื้นที่จริง เลือกเสนอประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับสารโดยตรง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีรูปภาพที่ไม่ซ้ำกับเพจอื่น นำเสนอข้อมูลรูปแบบคลิปวิดีโอที่ทีมงานจัดทำขึ้นใหม่ ใช้เครื่องหมายแฮชแท็กเพื่อไม่ให้ตกกระแสนิยมและเพื่อประโยชน์ในการสืบค้น เลือกใช้โลโก้ของเพจที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ทำให้เกิดการจดจำได้ดีAbstract The objectives of this mixed-method research are to study the communicative process of social issues from ‘E-Jan Fanpage’ on Facebook and its components (senders, messages, channels, and receivers), and to study the success factors in possessing the highest number of followers in Thailand. The content analysis approach has been applied. The researcher has conducted interviews with ‘E-Jan Fanpage’ crews and the fanpage’s followers. The results have been analyzed through quantitative and qualitative approaches which can be generated as followed. In terms of the quantitative approach, it is found that the difference value of factors (ages and educational levels of receivers) possessed significant value. The length of the following period has a statistical significance level of .01 and a correlation coefficient value of .253. These showed that the relationship values concurred with the hypothesis of this study. It can be also stated that the length of the following period can impact to receivers. Additionally, according to the qualitative approach, it is found that the crews have applied a communication theory to deliver social issues on the fan page. The success factor underlying the highest following number is the immediate content delivery. The news reporters always go investigating the actual place on time. The social issues have been carefully selected to generate an impact on the receivers. Language use is widely comprehensible. The pictures are differentiated. The contents have been presented in the form of a series of short VDO clips. Another strategy is to use a hashtag symbol to keep this fanpage trendy and to be the referencing purpose. The unique font and logo of ‘E-Jan’ fanpage has communicated the identity of the page clearly and has enabled the audiences to recognize it easily.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-29
Issue
Section
บทความวิจัย