แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง

Authors

  • กนกพร สัตยาไชย คณะศิลปกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การท่องเที่ยวแนวเนิบช้า, ตราสัญลักษณ์, จังหวัดตรัง, Slow tourism, Logo design, Trang province

Abstract

บทคัดย่อ การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์มากกว่าปริมาณกิจกรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่นและท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนา การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าจำเป็นต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ การสร้างตราสัญลักษณ์จึงถือเป็นกระบวนการสำคัญและควรที่จะศึกษา งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อหาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหาอัตลักษณ์ของจังหวัดตรัง 2) เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง วิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 9 ท่านแบ่งเป็น 3 ท่านต่อแบบสอบถาม 1 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามที่ 1 การท่องเที่ยวแนวเนิบช้า แบบสอบถามที่ 2 อัตลักษณ์จังหวัดตรัง และแบบสอบถามที่ 3 ลักษณะของการท่องเที่ยวแนวเนิบช้าและอัตลักษณ์จังหวัดตรัง ซึ่งในแบบสอบถามมีการใช้ตราสัญลักษณ์ที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practices) ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดตรังมีอัตลักษณ์โดดเด่นทั้งหมด 12 อัตลักษณ์ ได้แก่ ถ้ำมรกต รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ หอนาฬิกาเมือง หมูย่างเมืองตรัง ขนมเค้กเมืองตรัง ผ้าทอนาหมื่นศรี ยางพาราต้นแรก สถานีรถไฟกันตัง ประเพณีแลลูกลม ผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโร พะยูน และวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเช้า 2) แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง ประกอบไปด้วยผลจากการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์ทางเรขศิลป์ 5 เกณฑ์ ดังนี้ คือ 1) ชนิดของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ pictorial name mark 2) ประเภทของสัญญะควรเป็นแบบ icon 3)แนวโน้มของตราสัญลักษณ์ (Logo trend) ควรเป็นแบบ nature-inspired 4) ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt) ที่ควรใช้ คือ มีความสมมาตรแบบ reflective มี figure ground แบบ stable และมีการใช้หลักของ proximity ร่วมด้วย และ 5) องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบอื่นๆ เช่น เส้นแบบโค้ง ชุดสีแบบเอกรงค์ รูปร่างเรขาคณิต และอักษรแบบไม่มีเชิง โดยคำตอบที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าในจังหวัดตรังให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ และหวังว่าแนวทางนี้จะเป็นองค์ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ นำไปใช้ในการริเริ่มการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแนวเนิบช้าที่อื่นๆได้ในอนาคตอีกด้วยAbstract Slow tourism is the alternative tourism in Thailand, which is eco-friendly, locally-connected and aims to create more experiences in each place than visiting various places with ‘slow down’ concept. To develop slow tourism in Thailand, logo design is the important process that needs to explore more in a design guideline. This research aims at contributing to knowledge in logo design for slow tourism, employing ‘Trang province’ as a case study. The objectives are: 1) To search for identities of Trang province. 2) To develop a guideline of logo design for slow tourism: a case study of Trang province. Research methods include literature review, 3 questionnaires with nine experts. The research outcomes are: 1) Trang province found 12 identities represent Trang culture and nature include emerald cave, frog head Tuk Tuk, Trang clock tower, Trang grilled pork, Trang cake, Na Muen Sri Handicraft Textile, Thailand’s First Rubber Tree, Old train station, Look-Lom festival, Trang aromatic wood carving, Dugong and Trang traditional breakfast 2) Guideline of logo design for slow tourism: a case study of Trang province consists of five components: type of logo: pictorial name mark , category of sign: icon, logo trend: nature-inspired, Gestalt principles : proximity, reflective symmetry and stable figure ground and other design principles include curve line, monochrome color, geometric shape, san serif font. The research knowledge can be used as a logo design direction to help Trang province to promote their slow tourism and could be useful initiatives for other slow tourism spots to develop their own design.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-29