การศึกษาการออกแบบภาพลักษณ์ตัวละครกระสือใหม่ในภาพยนตร์ “แสงกระสือ INHUMAN KISS”
Keywords:
การออกแบบ, ภาพลักษณ์, กระสือ, อัตลักษณ์, image, design, Krasue, identityAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาการออกแบบภาพลักษณ์ตัวละครกระสือใหม่ในภาพยนตร์ “แสงกระสือ Inhuman Kiss” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวประวัติความเป็นมาและลักษณะของตัวละครกระสือเดิม ศึกษากระบวนทัศน์และการออกแบบอัตลักษณ์ตัวละครกระสือใหม่ให้ร่วมสมัยมีบริบทเป็นสากล โดยมีกระบวนการศึกษา 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย การศึกษาองค์ความรู้ภาคเอกสาร การประชุมทีมผู้กำกับและผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนออกแบบภาพร่างตัวละคร 2 มิติ การสร้างตัวละคร 3 มิติและออกแบบการเคลื่อนไหว การจัดองค์ประกอบศิลป์ และการนำตัวละครกระสือที่ได้จากการสังเคราะห์และออกแบบใหม่ไปใช้ในภาพยนต์แสงกระสือผสานเทคนิคพิเศษ 3 มิติขั้นสูงเพื่อสร้างตัวละคร 3 มิติที่มีใบหน้าเสมือนนักแสดงจริง (Hyper-Realistic 3D Visual effects) ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์กระสือเดิมของไทยมีลักษณะการออกแบบตัวละครกระสือเน้นอวัยวะภายในมนุษย์จริง ซึ่งประกอบด้วย ศีรษะ ลำคอ หลอดลม ปอด ลำไส้ หัวใจ ตับ ไต ในด้านการออกแบบตัวละครกระสือผู้วิจัยออกแบบในมุมมองที่ต่างออกไปโดยนิยามและสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ให้กระสือเป็น “มนุษย์ติดเชื้อกลายพันธุ์” และออกแบบสรีระกระสือใหม่โดยผสานแนวคิดการออกแบบตัวละครตามหลักสรีรวิทยา (Physiology) โดยลดทอนอวัยวะบางส่วนออกไป ประกอบด้วยส่วนศีรษะมีลักษณะเด่น ริมฝีปากม่วง ใบหน้าขาวเทาซีด มีเส้นเลือดเปล่งแสงออกมาบริเวณใบหน้าและลำคอ ส่วนรยางค์ซึ่งประกอบด้วยหัวใจที่เปล่งแสงและดับวูบเป็นจังหวะตามขนบเดิม และลำไส้ที่ระโยงระยางจากกระเปาะที่หุ้มหัวใจซึ่งมีการล่องลอยอย่างอิสระโดยอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของแมงกะพรุนทะเล นอกจากนี้ลำไส้ของกระสือที่ผ่านการออกแบบใหม่ยังเป็นเสมือนสื่อกลางแสดงความรู้สึก ความรัก อาลัย ห่วงหา และสามารถใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวได้อีกด้วย โดยตัวละครกระสือที่ได้สังเคราะห์ขึ้นใหม่นี้ถูกนำไปใช้สร้างภาพยนต์เรื่อง “แสงกระสือ” (Inhuman Kiss) ในปี พ.ศ. 2562 ภาพยนต์เรื่องนี้ ได้รับรางวัลรางวัลเทคนิคการสร้างภาพพิเศษยอดเยี่ยม (Best Visual Effects) ในงานสุพรรณหงส์ครั้งที่ 29 และได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าชิงรางวัลออสการ์ครั้งที่ 92 ในสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม (Best Foreign Language Film Award)Abstract The study of new image design concept of character Krasue for making the movie “Inhuman Kiss” aims to: Study and analyze the story, history, and characteristics of the original Krasue characters. Study the paradigm and design a new character identity. To give the contemporary a global context with a 6-step educational process Consisted of the study of the body of knowledge in the documented sector; management team meeting supervisors and experts body image design process 2D drama, 3D character creation, and motion design. Artistic composition and lead character Synthesis and redesigned Krause for use in movies Combine advanced 3D special effects to create 3D characters with Hyper-Realistic 3D Visual effects The original Thai Krasue has a character design that emphasizes the internal organs of a real human being. Which consists of the head, neck the trachea, lungs, intestines, heart, liver, and kidneys design a play in a different perspective by definition and building. A new paradigm for Krasue to be “Mutant Infected Humans” and redesigned the body by combining the concept of Physiological character design by reducing some organs consists of ahead Distinguishing Characteristics: purple lips, pale gray face there were glowing veins on the face and neck. The rubber part which it consists of a heart that glows and fades in a traditional rhythm. And the intestines that are skeletal from the bulbous covering the heart, which Floating freely based on the movement of marine jellyfish. In addition, the newly redesigned intestine of the stingray acts as a medium for expressing feelings, love, mourning, and concern, and can be used in self-defense battles. Also, the newly synthesized Krasue character was used to make the movie Inhuman Kiss In the year 2019, this movie received the award for Best Visual Effects in the event. The 29th Suphannahong and was selected as a nominee for the 92nd Academy Awards in the film category. Best Foreign Language Film AwardDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2021-12-29
Issue
Section
บทความวิจัย