การสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว

Authors

  • ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว, จังหวัดสระแก้ว, Creative tourism, Destination image, Sa Kaeo province

Abstract

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว 2) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว 3) อิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารการท่องเที่ยวต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว โดยการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีเทสต์ การทดความความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส และมีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว โดยรวม แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่เคยและไม่เคยเดินทางไปจังหวัดสระแก้ว ไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง  กลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการใช้เครื่องมือการสื่อสาร แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณอิทธิพลของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่อภาพลักษณ์ แบบจำลองที่ดีที่สุด ประกอบด้วย 1) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สามารถส่งเสริมให้ผู้ท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านมีความผูกพันระหว่างกันได้ 2) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สามารถสร้างการจดจำ ความประทับใจประทับใจ และสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวได้ 3) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน/ส่งผ่าน-ส่งต่อประสบการณ์ของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ได้ร้อยละ 58 (Adjusted R Square = 0.58) ส่วนแบบจำลองอิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารต่อภาพลักษณ์ ได้ดีที่สุด ประกอบด้วย 1) ควรใช้การบอกต่อกันของนักท่องเที่ยว เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว 2) ควรใช้ สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว 3) ควรใช้การส่งเสริมการตลาด เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว ได้ร้อยละ 24 (Adjusted R Square = 0.24)Abstract This quantitative research was to study 1) the communication of community in the creative tourism, 2) the communication of image in the creative tourism, and 3) the influences of community communication tools on the creative tourism image, of Sa Kaeo province. The questionnaires were distributed among 400 tourists and local people and tourist in Sa Kaeo province by means of accidental sampling method. Statistics, average, percentage, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and multiple regression analysis, were applied to analyze data. The results revealed that the samples with different in sex, age, marital status, and domestic traveling habits, would have overall different opinions of the community base in promoting a creative tourism of Sa Kaeo province with a statistical significance at the 95% level (p<0.05), whereas samples who had been and never been to Sa Kaeo province had no different opinions. Samples with different viewpoints of the community identity would also have different viewpoints of the creative tourism image and the use of community base communication tools with a statistical significance at the 95% level (p<0.05). In addition to the multiple regression analysis for influences of community base in promoting a creative tourism, the best model consisted of the Sa Kaeo tourism 1) can encourage the relationship between tourists and local people, 2) can promote memories, impressions, and understandings to tourists, 3) can generate the information exchange between tourists and local people.  The adjusted R square for this model was 0.58 (58%). The influence model of the best communication tools included the use of 1) tourist's word of mouth, 2) social media, and 3) marketing campaign, as means of the community communication to promote the creative tourism of Sa Kaeo province. The adjusted R square was 0.24 (24%).

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-29