การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • วรทัศน์ วัฒนชีวโนปกรณ์

Keywords:

การพัฒนา, ระบบฐานข้อมูล, งานพัสดุ

Abstract

บทคัดย่อ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบงานพัสดุ ได้แก่ ด้านการจัดหา ด้านการแจกจ่ายและควบคุม ด้านการบำรุงรักษา และด้านการจำหน่าย สามารถสืบค้นเอกสารดังกล่าวได้ 2) เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับจัดทำเอกสารการพัฒนาระบบงานพัสดุ ได้แก่ ด้านการจัดหา ด้านการแจกจ่ายและควบคุม ด้านการบำรุงรักษา และด้านการจำหน่าย เพื่อกำหนดมาตรฐานของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ 3) เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดขั้นตอนในการประมวลผลข้อมูลจากเอกสารงานพัสดุ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของงานพัสดุเริ่มต้นตั้งแต่สำรวจปัญหาและความต้องการของผู้บริหารต่อระบบงานพัสดุ ของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แล้วนำมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานพัสดุโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นฐานและฐานข้อมูลงานพัสดุของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นแนวทางการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและประโยชน์ระบบงานพัสดุของวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของงานพัสดุมีการเพิ่มแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารต่อระบบฐานข้อมูลงานพัสดุ โดยใช้ค่าสถิติเชิงบรรยาย (descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard of deviation : SD) ผลการศึกษาพบดังนี้ ประการแรก ผลจากการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของงานพัสดุ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยผู้วิจัยได้จัดทำโปรแกรมระบบจัดการครุภัณฑ์และพัสดุ เป็นโปรแกรมระบบ Client/Server ซึ่งสามารถรองรับการทำงาน สำหรับจัดการครุภัณฑ์ทั้งแบบระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ผ่านเครื่องแม่ข่าย (Server) หรือระบบ Stand alone ใช้ภายในเครื่อง ซึ่งระบบจะคลอบคลุมการทำงานใน 5 Module ดังนี้ 1. การรับสินค้าครุภัณฑ์เข้าจาก Supplier แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.1 ส่วนบันทึกรับสินค้าเข้า 1.2 ส่วนปรับปรุงข้อมูลรับสินค้าเข้า และ 1.3 ส่วนค้นหา/ยกเลิก รับข้อมูลครุภัณฑ์เข้า เป็นต้น 2. การเบิก-ยืมครุภัณฑ์ 3. การคืนครุภัณฑ์ 4. การแจ้งซ่อมครุภัณฑ์ และ 5. การจัดการข้อมูล Supplier ประการที่สอง ผลจากการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารต่อระบบฐานข้อมูลงานพัสดุ ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารหญิงและผู้บริหารชาย มีจำนวน 5 คน เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 50.0 พบว่า การประเมินด้านความสามารถทำงานตามความต้องการผู้ใช้ ผู้บริหารมีความพึงพอใจในระบบฐานข้อมูลมีความเหมาะสมของการแสดงผลของข้อมูล, การแสดงข้อมูลที่ต้องสั่งซื้อ และการใช้งานระบบ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 การประเมินด้านหน้าที่ของโปรแกรม ผู้บริหารมีความพึงพอใจในระบบฐานข้อมูลมีความเหมาะสมของการแสดงข้อมูลในระบบฐานข้อมูล ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 การประเมินด้าน การใช้งานของโปรแกรม ผู้บริหารมีความพึงพอใจในระบบฐานข้อมูลมีความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ,  การใช้สีของตัวอักษรพื้นหลัง และรูปภาพประกอบ, ตำแหน่งการจัดวางส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และความเหมาะสมของโปรแกรมในภาพรวม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-12-29