การออกแบบฉากสำหรับการขายเสื้อผ้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ กรณีศึกษาเพจ “กายา เสื้อผ้านำเข้างานดีที่สุด”
Keywords:
ฉาก, ออกแบบ, เฟซบุ๊ก ไลฟ์, การขายสินค้าออนไลน์Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบฉากสำหรับธุรกิจการขายเสื้อผ้าออนไลน์ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ ในประเทศไทย กรณีศึกษา เฟซบุ๊ก แฟนเพจ “KAYA เสื้อผ้านำเข้างานดีที่สุด” โดยได้ศึกษาพฤติกรรมกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบฉากสำหรับธุรกิจการขายเสื้อผ้าออนไลน์ โดยนำผลการออกแบบเบื้องต้นให้ผู้ใช้งานพิจารณา และนำผลมาพัฒนาการออกแบบต่ออีก 3 แนวทางที่แตกต่างกัน ผ่านเงื่อนไขข้อจำกัดของร้านค้ากรณีศึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา เพื่อพัฒนาเป็นแบบสุดท้ายที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด ผลการวิจัย พบว่าพฤติกรรมผู้ซื้อใช้เวลาในการรับชมไลฟ์ครั้งละ 10-60 นาที โดยองค์ประกอบที่ทำให้ผู้ซื้อจดจำร้านได้คือ ผู้ขาย ภาพลักษณ์ร้านค้า โทนสี และโลโก้ ตามลำดับพบว่า สินค้าที่นิยมรับชมผ่านไลฟ์มากที่สุดคือ เสื้อผ้า รายละเอียดที่ผู้ซื้อต้องการทราบ คือ รายละเอียดสินค้า ขนาด, ตัวเลือกสี, ราคา, ค่าจัดส่ง ตามลำดับ พบว่าผู้ขายไลฟ์ขายสินค้าที่บ้านส่วนตัว ใช้พื้นที่ 2 ตารางเมตร ขึ้นไป มีความถี่ในการไลฟ์อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และจะมีผู้จัดการเพจเป็นผู้จัดการการซื้อขาย อุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องใช้ในการขาย ประกอบด้วย โทรศัพท์มือถือ, ขาตั้งกล้อง, ไฟ, อุปกรณ์วางสินค้า ตามลำดับ พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ในการไลฟ์ มาจากอุปกรณ์การใช้งาน และการตอบคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้าซ้ำๆ จากทฤษฎีการรออกแบบผลิตภัณฑ์และแนวคิด Form follows function พบว่าการออกแบบฉากเพื่อธุรกิจการขายเสื้อผ้าออนไลน์ ต้องพิจารณาจาก 2 ส่วน คือ รูปทรงและการใช้งาน โดยแสดงผลออกมาผ่านอุปกรณ์ 3 ชิ้น กล่าวคือ โครงสร้างอลูมิเนียม มีลักษณะเป็นตัวแอล (L) ทำให้ฉากสามารถแสดงผลได้สองด้าน, งานพิมพ์ผ้าโพลีเอสเตอร์ ทำหน้าที่แสดงลายกราฟิก โดยสวมยืดหยุ่นตามโครงสร้าง สามารถรีดด้วยอุณหภูมิต่ำได้เมื่อเกิดรอยยับ และอุปกรณ์เสริมบอกรหัสสินค้า ติดตั้งที่ตำแหน่งเสาด้านหน้า เพื่อช่วยลดงานพูดบอกรหัสสินค้าซ้ำๆ ของผู้ขาย รวมถึงรหัสสินค้าจะปรากฏอยู่ในภาพบันทึกหน้าจอทันที อุปกรณ์ชุดนี้จะช่วยปรับภาพลักษณ์ของร้านค้าให้สื่อสารในแบบที่ผู้ขายต้องการ ผ่านงานพิมพ์ภาพกราฟิก รวมถึงเป็นตัวช่วยให้ผู้ขายทำการขายได้สะดวกมากขึ้นจากอุปกรณ์เสริมที่ได้ออกแบบตั้งต้นจากพฤติกรรมระหว่างการซื้อขาย ทำให้จบปัญหาการปรับตกแต่งพื้นที่ เพื่อปิดบังส่วนที่ไม่เหมาะสมต่อการแสดงผล หรือการหาสถานที่ขายอื่นทดแทน ผู้ขายจะสามารถใช้พื้นที่เดิมของบ้านได้เช่นเดิมDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2020-12-29
Issue
Section
บทความวิจัย