ผลของรูปแบบเกมแอปพลิเคชันกับการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย

Authors

  • กชพรรณ ยังมี
  • นิรัช สุดสังข์

Keywords:

การเรียนรู้ทางมิติสัมพันธ์, การเรียนรู้ทางศิลปะ, เด็กปฐมวัย, รูปแบบเกมแอปพลิเคชัน, Spatial relation learning, art learning, children in early childhood, game application structure

Abstract

Effects of Game Applications Model on Art Learning and Spatial Relations of Early Childhood บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างรูปแบบเกมแอปพลิเคชันกับการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนาเกมแอปพลิเคชันกับการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังเล่นเกมแอปพลิเคชัน และ4) เพื่อเปรียบเทียบเพศกับผลการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์หลังเล่นเกมแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย จำนวน 60 คนเป็นเพศชาย 30 คน และเพศหญิง 30 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi -Stage Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน คือ ทดสอบที (Paired-Sample t-tests & Independent Samples Test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบเกมแอปพลิเคชันมีโครงสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลแบบผสม เป็นการ นำเสนอข้อมูลแบบเชิงเส้นเป็นหลักนำมาผสมกับแบบลำดับขั้นตอนประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) หน้าโหลดดิ้ง 2) หน้าหลัก ซึ่งหน้าหลักประกอบด้วย 5 รายการ คือ ด่านเกม วิธีการเล่นเกม สรุปผลการเล่นเกมรวมทุกด่าน เสียงประกอบ และ เสียงเพลงประกอบเกม 3) การจบเกม โดยรูปแบบเกมแอปพลิเคชันแบบผสมมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เกมแอปพลิเคชันเมื่อพัฒนาตามโครงสร้างรูปแบบผสมมีคุณภาพดีมาก เมื่อนำเกมแอปพลิเคชันไปใช้กับเด็กปฐมวัยสามารถส่งเสริมผลการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์หลังใช้เกมแอปพลิเคชันสูงขึ้น นอกจากนี้เด็กปฐมวัยเพศต่างกันผลการเรียนรู้ทางศิลปะและมิติสัมพันธ์หลังใช้เกมแอปพลิเคชันแบบผสม ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การเรียนรู้ทางมิติสัมพันธ์ / การเรียนรู้ทางศิลปะ / เด็กปฐมวัย / รูปแบบเกมแอปพลิเคชัน  Abstract There are four objectives in this research project: 1) to construct a game application framework for early childhood development of art and spatial relation skills, 2) to develop a game application for early childhood development of art and spatial relation skills, 3) to compare the outcomes of art and spatial reasoning skills development in children in early childhood before and after their usage of the game application, and 4) to compare genders with  outcomes of art and spatial reasoning learning after playing game applications. The sample population was 60 children in early childhood, divided into 30 male and 30 female. Multi-stage sampling technique was used in constructing the sample population. The data was analyzed using descriptive statistics, percentage, mean, standard deviations. Furthermore, paired-sample t-test and independent samples test was used in hypothesis testing. The results showed that the game application framework has a mixed information linkage structure. That is the information is mainly presented in a linear structure with the supplement of an ordered process. There are three elements in the structure:1) the Loading Page, 2) the Main Page containing five items-game stages, game play instructions, game play results, sound settings, and background music settings, and 3) the Game Ending. The framework constructed received the highest level in appropriateness evaluation.The quality of the game application developed according to the mixed-structure framework received the high level in quality evaluation. Once used with the children in early childhood, the game application promoted their learning in art and spatial relation skills, in addition, preschool children are different in gender, learning outcomes in art and spatial relation after using game applications, differences were statistically significant at the .05 level. Keywords: Spatial relation learning / art learning / children in early childhood / game application structure

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-29