กระบวนการสร้างสรรค์บทการแสดงจากวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ กรณีศึกษาเรื่อง หัวนายแรง

Authors

  • รัชฌกร พลพิพัฒน์สาร
  • นราพงษ์ จรัสศรี

Keywords:

บทการแสดง, กระบวนการ, สร้างสรรค์, วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้, หัวนายแรง, plot, the process, creation, folk tale, Hua Nai Rang

Abstract

The Creation of A Script Developing from A Southern Folk Tale : Case Study of Hua Nai Rangบทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนำเสนอสาระการสร้างสรรค์บทการแสดงที่พัฒนามาจากการวิเคราะห์ ตีความจากวรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เรื่อง นายแรง จากการบอกเล่าในรูปแบบต่าง ๆ นำมาสร้างสรรค์บทการแสดง โดยแบ่งตามโครงสร้างบทละครตะวันตก ออกเป็น 3 ช่วง คือ ตอนต้น การเริ่มต้นของการเดินทาง ตอนกลาง ปัญหาและอุปสรรคระหว่างการเดินทาง และตอนปลาย จุดสิ้นสุดการเดินทาง มีการวิเคราะห์ตัวละครหลัก จากวรรณกรรมพื้นบ้าน คือ นายแรง ผู้ซึ่งมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาแล้วออกเดินทางไปตามหาเป้าหมาย นำไปใช้ในการออกแบบและสร้างตัวละครในบทการแสดง ซึ่งจะเป็นสื่อหนึ่งในการช่วยเล่าเรื่องให้ผู้ชมเข้าใจในจุดประสงค์ของผู้สร้างสรรค์ พร้อมกับใช้กลวิธีในการเล่าเรื่องแบบภายใต้มุมมองของผู้เล่าเรื่อง และเปรียบเทียบการเดินทางเป็นดั่งเกมส์บันไดงูกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญกับสร้างสรรค์และพัฒนาบทการแสดงเรื่องนี้ เพราะบทการแสดงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการแสดง นำไปสู่การก่อเกิดจินตภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์การแสดงตามองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ เพื่อสื่อสารให้กับผู้ชมหรือผู้รับสารเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้สร้างสรรค์บทการแสดง ดังนั้น บทการแสดงนี้ จึงได้นำมาตีความหมายใหม่ ที่สะท้อนเรื่องราวของวีรบุรุษในชุมชนผ่านตัวละครหลัก เกิดจากความคิดของบุคคลต่าง ๆ และสถานการณ์ในอดีตตามวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องนายแรง แล้วมีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ชุมชน ขนบ(พิธีกรรม) และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ทั้งยังเป็นสื่อสะท้อนภาพในมิติเชิงจินตนาการในรูปแบบของโลกความเป็นจริงที่สอดคล้องกับสังคมร่วมสมัยในปัจจุบัน และปรัชญาชีวิตที่ให้เห็นทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่ประสบการณ์ของชีวิตผู้ชมหรือผู้รับสาร คำสำคัญ: บทการแสดง กระบวนการ / สร้างสรรค์ / วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ / หัวนายแรงAbstract The purpose of this research is to study presentation processes and content creation of an acting script developed from an analysis and interpretation of “Hua Nai Rang,” a southern folk literature, which was presented through different telling techniques. The script consisted of 3 parts based on western drama structures. These were: 1) the beginning referring to the start of a journey, 2) the middle presenting the problems and obstacles during the journey, and 3) the end of the journey providing an analysis of the main characters from the folk literature, namely Mr. Rang, who had faith in Buddhism and then set out to find the goal. This was useful for the design and creation of the characters in the script, which became a medium that helped convey the purpose of the creator to the audience, while storytelling strategies from the narrator's point of view was applied. Meanwhile, the story was told by comparing the journey as a snake ladder game in which different situations occurred. The researcher focused on creating and developing the script for this  show as it was considered a key part of the performance allowing the creation of imagery. Thus, the creation of the performance was based greatly on the elements of dance in order to communicate with the audience for them to understand the purpose of the script creator. Hence, the script was reinterpreted so that the main characters could effectively represent the stories of the heroes in the community. The reinterpretation involved an integration of people’s thoughts and past events in Hua Nai Rang and the history of the community, traditions (ritual ceremonies), and folk performances. In addition, it was aimed to reflect imaginary dimensions of the real world which are congruent with the modern world. In the meantime, the script also conveyed moral and ethical value of life philosophy in order for the audience to relate it to their life experiences. Keywords: plot / the process / creation / folk tale / Hua Nai Rang

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-06-29