การประเมินปริมาณกรดคลอโรจีนิก กรดคาเฟอิก กรดเฟอร์รูลิก และกรดพาราคูมาริก ในเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร (EVALUATION ON CHLOROGENIC ACID CAFFEIC ACID FERULIC ACID AND p-COUMARIC ACID IN HERBAL DRINKS)
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณกรดคลอโรจีนิก กรดคาเฟอิก กรดเฟอร์รูริก และกรดพาราคูมาริก ซึ่งจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของกรดไฮดรอกซีซินนามิกแบบพร้อมกันในตัวอย่างน้ำสมุนไพรจากพืช 7 ชนิด ได้แก่ ฝาง ใบหม่อน หญ้าหวาน ปอกระบิด ตะไคร้ รากสามสิบ และกระเจี๊ยบ โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณกรดไฮดรอกซีซินนามิกด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงและใช้ตัวตรวจวัดแบบไดโอดแอร์เรย์ ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการทดลอง พบว่า สภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้วัฏภาคเคลื่อนที่ของกรดแอซีติกความเข้มข้น 5% ผสมกับอะซีโตไนไตรล์ ในอัตราส่วน 85.5:14.5 โดยปริมาตร ควบคุมอัตราการไหลของสารละลายวัฏภาคเคลื่อนที่ 1.0 มิลลิลิตรต่อนาที และตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 324 นาโนเมตร ผลการประเมินความใช้ได้ของวิธีการทดลอง พบว่า เป็นวิธีการที่ให้ค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ (LOD) และค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (LOQ) ของกรดไฮดรอกซีซินนามิก 4 ตัวที่ทำการวิเคราะห์อยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.08-0.15 และ 0.20-0.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วงความเข้มข้น 2-100 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูง (R2 ≈ 0.9993 – 0.9997) เมื่อนำวิธีการวิเคราะห์ไปใช้ตรวจวัดกรดไฮดรอกซีซินนามิกในน้ำสมุนไพรตัวอย่างนั้น พบว่า น้ำสมุนไพรตรวจพบกรดคลอโรจีนิก กรดคาเฟอิก และกรดพาราคูมาริก ในช่วง 16.56 – 947.37, 9.04 – 128.73 และ 13.97 – 22.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ แต่ข้อน่าสังเกตคือ น้ำสมุนไพรตัวอย่างไม่สามารถตรวจพบกรดเฟอร์รูลิก แสดงว่า พืชทั้ง 7 ชนิด อาจไม่ใช่แหล่งสำคัญของกรดเฟอร์รูลิก อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้ ทำให้เห็นว่า การดื่มเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร จะได้รับสารสำคัญจากกลุ่มกรดไฮดรอกซีซินนามิคำสำคัญ: กรดคาเฟอิก กรดคลอโรจีนิก กรดพาราคูมาริก กรดไฮดรอกซีซินนามิก น้ำสมุนไพรThe objective of this research was to simultaneously analysis of chlorogenic acid, caffeic acid, ferulic acid and p-coumaric acid contents in seven types of herbal drinks (Caesalpinia sappan Linn., Morus alba Linn., Stevia rebaudiana Bertoni, Helicteres isora L., Cymbopogon citratus (DC.) Stapf, Asparagus racemosus Willd., and Hibiscus sabdariffa L.) by high performance liquid chromatography coupled to diode array detector. The optimization of experimental conditions for the analysis were also studied. The best mobile phase system was 5% acetic acid : acetonitrile with ratio of 85.5:14.5 v/v, controlled flow rate as 1 ml/min and detection wavelength at 324 nm. Regarding the validation of the proposed method, it was found that the limit of detection (LOD) and limit of quantitation (LOQ) for the four acids determined in the range of 0.08-0.15 and 0.20-0.50 mg/L were respectively obtained. The linearity for the four acids determined was in the range of 2-100 mg/L with high correlation coefficient (R2 ≈ 0.9993 – 0.9997). This method was applied to analyse the hydroxycinnamic acid in herbal drink samples and revealed that herbal drink contained chlorogenic acid, caffeic acid and p-coumaric acid in the range of 16.56-947.37, 9.04-128.73 and 13.97-22.17 mg/L, respectively. It was noticed that, ferulic acid could not be detected in all herbal drinks. This means that all samples may not be the source of ferulic acid. However, this work showed that by drinking of herbal drink will result in obtaining active substances of hydroxycinnamic acid.Keywords: Caffeic Acid, Chlorogenic Acid, p-coumaric Acid, Hydroxycinnamic Acid, Herbal DrinksDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2017-07-05
How to Cite
บวรชาติ ว., & ม่วงไทย พ. (2017). การประเมินปริมาณกรดคลอโรจีนิก กรดคาเฟอิก กรดเฟอร์รูลิก และกรดพาราคูมาริก ในเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร (EVALUATION ON CHLOROGENIC ACID CAFFEIC ACID FERULIC ACID AND p-COUMARIC ACID IN HERBAL DRINKS). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(17, January-June), 104–113. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/9007
Issue
Section
บทความวิจัย