การพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (DEVELOPMENT OF LEARNING OBJECT ON SOLAR SYSTEM FOR PRATHOMSUKSA 4 STUDENTS)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่องระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพโดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน จากการเรียนด้วยเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่องระบบสุริยะ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบสุริยะกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม จำนวน 30 คน โดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรจากโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่องระบบสุริยะ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลจากความถี่ ร้อยละ และค่า t-testผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี 2) คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุดคำสำคัญ: เลิร์นนิงออปเจ็กต์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ความพึงพอใจThe purposes of the research were 1) to develop Learning Object on Solar System for Prathomsuksa 4 students with quality level as “good” according to experts evaluation, 2) to compare the students pre-test scores and post-test scores, 3) to study the students satisfaction on the developed Learning Object.The subject was 30 Prathomsuksa 4 students at Watthammapirataram School. The research tools utilized in this study were Learning Object, pre-test, post-test, and questionnaires. The data were analyzed using frequency, percentage, and t-test.The research results were 1) the developed Learning Object was evaluated by the experts at good quality level, 2) the students post-test scores after studying through Learning Object were statistically significant higher than the students pre-test scores at 0.05 level, and 3) the students satisfaction on developed Learning Object was at the most level.Keywords: Learning Object, Prathomsuksa 4 students, satisfactionDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2010-02-15
How to Cite
เหลืองพุฒิกุลชัย จ., แก่นเพิ่ม จ., & สรรพกิจจำนง ก. (2010). การพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (DEVELOPMENT OF LEARNING OBJECT ON SOLAR SYSTEM FOR PRATHOMSUKSA 4 STUDENTS). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(2, July-December), 70–77. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/869
Issue
Section
บทความวิจัย