การพัฒนาวิธีเตรียมตัวอย่างในการวิเคราะห์กรดแทนนิกในตัวอย่างพืชด้วยวิธีการสกัดระดับไมโครโดยอาศัยหลักการกระจายตัวระหว่างชั้นของเหลวที่ใช้ตัวทำละลายสกัดเป็นชนิดความหนาแน่นต่ำ

Authors

  • สิริมา เดชะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรพิมล ม่วงไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์กรดแทนนิกในตัวอย่างพืช ด้วยวิธีการสกัดระดับไมโครโดยอาศัยหลักการกระจายตัวระหว่างชั้นของเหลวที่ใช้ตัวทำละลายสกัดเป็นชนิดความหนาแน่นต่ำ ทั้งนี้ได้ศึกษาตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการสกัด ได้แก่ ชนิดและปริมาตรของตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด และตัวทำละลายที่ใช้ในการกระจายตัว และทดลองเปรียบเทียบกับวิธีการสกัดทั่วไปตลอดจนได้ทดสอบความใช้ได้ของวิธีการ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการการตรวจสอบกับพืชตัวอย่าง ผลการหาสภาวะที่เหมะสมพบว่า สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัด คือ 1-บิวทานอล ปริมาตร 800 ไมโครลิตรเป็นตัวทำละลายในการสกัด และใช้สารผสม เอทานอลต่อน้ำในอัตราส่วน 20:80 ปริมาตร 800 ไมโครลิตร เป็นตัวทำละลายที่ใช้ในการกระจายตัว ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมนี้ กราฟมาตรฐานให้สัญญาณที่มีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 3-15 mg/L โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.9990 ค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ 0.51±0.04 mg/L และค่าขีดจำกัดต่ำสุดที่สามารถตรวจวิเคราะห์ปริมาณได้ 1.71±0.27 mg/L ให้ค่าร้อยละการกลับคืน 99.89±3.59 และค่าความแม่น เท่ากับ 0.42±0.02 mg/L เมื่อเปรียบเทียบวิธีนี้กับวิธีการสกัดโดยทั่วไปพบว่า เป็นวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้การสกัดที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการสกัดกรดแทนนิก เมื่อนำวิธีที่พัฒนานี้ไปตรวจวัดปริมาณกรดแทนนิกในใบพืชทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ ใบหูกวาง ใบฝรั่ง ใบกระท้อน และใบยอ พบปริมาณกรดแทนนิกมีอยู่ในตัวอย่างในช่วง 8.29±0.28 ถึง 16.161±0.88 mg/L. ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าวิธีที่พัฒนานี้เป็นวิธีที่ง่าย สะดวกในการวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพ และมีความต้องการในการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ในปริมาณที่น้อยกว่าวิธีการสกัดทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถนำงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกในตัวอย่างพืชและผลไม้ชนิดอื่นๆ ได้คำสำคัญ: กรดแทนนิก วิธีการสกัดเทคนิคการกระจายตัวระหว่างชั้นของของเหลว พืชThis objective of this research was to develop the preparation method for analysis of tannic acid in plant samples by low density solvent extraction based dispersive liquid-liquid microextraction (LDS-DLLME) technique. The parameters including the type and volume of dispersive solvent and extraction solvent. The method was compared with conventional extraction method and method validation was also tested before applying for tannic acid determination in plant samples. The optimization results showed that the optimum extraction conditions were 800 µL of 1-butanol as the extraction solvent and 800 µL of a mixture of ethanol and water in the ratio of 20:80 as the dispersive solvent. Under these optimum conditions, the standard curve show a linearity over a concentration range of 3 to 15 mg/L with a correlation coefficient (R2) of 0.9990. The limit of detection and limit of quantitation of the analysis method were 0.51±0.04 mg/L and 1.71±0.27 mg/L respectively. The recoveries percentage was found to be 99.89±3.59% with RSD of 0.42 ±0.02 mg/L. The comparison test revealed that the propose method has the best efficiency for tannic extraction. The tannic acid quantity in the range of 8.29±0.28 to 16.16±0.88 mg/L for four types of leaves plant samples, including Indian almond leaves, guava leaves, Santol leaves and Indian mulberry leaves were observed using the proposed method. This method are easier, more comfortable, required fewer amounts of organic solvents. Inaddition, the proposed method could be applied for tannic acid analysis in plant and fruit samples.Keywords: tannic acid, LDS-DLLME, plant

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สิริมา เดชะ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

พรพิมล ม่วงไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-07-31

How to Cite

เดชะ ส., & ม่วงไทย พ. (2015). การพัฒนาวิธีเตรียมตัวอย่างในการวิเคราะห์กรดแทนนิกในตัวอย่างพืชด้วยวิธีการสกัดระดับไมโครโดยอาศัยหลักการกระจายตัวระหว่างชั้นของเหลวที่ใช้ตัวทำละลายสกัดเป็นชนิดความหนาแน่นต่ำ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(14, July-December), 53–63. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/7361