การพัฒนายุทธวิธีการฝึกอบรมระบบแมคคาทรอนิกส์ยานยนต์เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์จริง (THE DEVELOPMENT OF AUTOMOTIVE MECHATRONIC SYSTEMS TRAINING STRATEGY FOR ENHANCING PROBLEM SOLVING SKILLS WITHIN CURRENT SITUATION)

Authors

  • Weerayute Sudsomboon King Mongkut’s University of Technology Thonburi.
  • Boonsong Hemwat King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธวิธีการฝึกอบรมระบบแมคคาทรอนิกส์ภายใต้สถานการณ์จริงเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา และ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อยุทธวิธีการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ของภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลือกโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 30 คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ แบบกลุ่มเดียวโดยทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาระบบแมคคาทรอนิกส์ยานยนต์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าแจกแจงที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาระบบแมคคาทรอนิกส์ยานยนต์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ งานวินิจฉัยข้อบกพร่องระบบควบคุมการฉีดเชื้อเพลิงเครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ และการวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาระบบ ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อยุทธวิธีการฝึกอบรมระบบแมคคาทรอนิกส์ภายใต้สถานการณ์จริงเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมากคำสำคัญ: ระบบแมคคาทรอนิกส์ยานยนต์ ทักษะการแก้ปัญหา ยุทธวิธีการฝึกอบรมThe objectives of this study were: 1) to investigate the effectiveness of automotive mechatronic Systems training strategy with current situation while students’ solved ill-structured problems; and 2) to evaluate learners’ satisfactions towards the training strategy. The sampling group was 30 samples on the second year students of Department of Mechanical Technology Education at King Mongkut’s University of Technology Thonburi, selected by simple random sampling. The one group pretest and posttest design was employed in this study. The instruments consisted of the knowledge-based achievement tests, the practical tests, and a questionnaire on learners’ satisfaction. Data were analyzed by mean, standard deviation, t-test dependent. The results indicated a significant difference in posttest scores. In practical, problem-solving skills was great significant difference in practical performances between the electronic control system and system solution. Students’ satisfaction towards the ASM training strategy was at the high level.Keywords: Automotive Mechatronic Systems, Problem Solving Skills, Training Strategy

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Weerayute Sudsomboon, King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Boonsong Hemwat, King Mongkut’s University of Technology Thonburi.

ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Downloads

Published

2012-09-21

How to Cite

Sudsomboon, W., & Hemwat, B. (2012). การพัฒนายุทธวิธีการฝึกอบรมระบบแมคคาทรอนิกส์ยานยนต์เพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์จริง (THE DEVELOPMENT OF AUTOMOTIVE MECHATRONIC SYSTEMS TRAINING STRATEGY FOR ENHANCING PROBLEM SOLVING SKILLS WITHIN CURRENT SITUATION). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(8, July-December), 51–69. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2389