การใช้ยาชาลิโดเคนร้อยละสองร่วมกับอะดรีนาลินเปรียบเทียบกับลิโดเคนร้อยละสิบร่วมกับอีเฟดดรีนในการส่องกล้องโพรงจมูก (COMPARISON OF USING 2% LIDOCAIN WITH ADRENALINE TO 10% LIDOCAIN WITH EPHREDINE IN THE NASOENDOSCOPY)
Abstract
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ยาลิโดเคนร้อยละสอง ร่วมกับอะดรีนาลินเปรียบเทียบกับยาลิโดเคนร้อยละสิบ ผสมกับอีเฟดดรีนกับในการส่องกล้องโพรงจมูก ผู้ป่วยได้รับการสุ่มคัดเลือกอย่างอิสระ ในการบริหารยาในจมูกทั้งสองข้าง (Randomized Control) โดยใช้กล้อง Telescope ส่องภายในโพรงจมูก แล้วเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดขณะวางผ้าสำลีชุบน้ำยาในโพรงจมูก และระดับความเจ็บปวดขณะส่องกล้อง โดยใช้แผนภูมิภาพเพื่อแสดงระดับความเจ็บปวด (Visual Analog Scale; VAS) รวมทั้งวัดประสิทธิภาพในการส่องกล้องภายในโพรงจมูกที่ตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ในโพรงจมูกส่วนหน้า (Anterior Nares) ผนังกั้นช่องจมูกส่วนล่าง (Inferior Turbinate) ผนังกั้นช่องจมูกส่วนกลาง (Middle Turbinate) โพรงจมูกส่วนหลัง (Posterior Choana) และโพรงจมูกด้านบนส่วนหลัง (Sphenoethmoidal Recess) เปรียบเทียบผลที่ได้ในการใช้ยาชาทั้งสองชนิดผลการวิจัยพบว่า มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการศึกษานี้ 43 คน เพศชาย 20 คน เพศหญิง 23 คน อายุเฉลี่ย 49.69 ± 14.77 ปี ระดับความเจ็บปวดขณะวางยาชาที่ใช้ลิโดเคนร้อยละสองผสมอะดรีนาลีน เปรียบเทียบกับลิโดเคนร้อยละสิบผสมกับอีเฟดดรีน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.01 ± 2.70 กับ 3.73 ± 2.57, p=0.05) ระดับความเจ็บปวดขณะส่องกล้องในจมูกในผู้ป่วยที่ใช้ลิโดเคนเคนร้อยละสองผสมอะดรีนาลีน เปรียบเทียบกับลิโดเคนร้อยละสิบผสมอีเฟดดรีน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (4.48 ± 2.79 กับ 5.01 ± 2.81, p=0.36) การตรวจภายในโพรงจมูกด้วยกล้องไปยังตำแหน่งต่างๆ ในโพรงจมูกพบว่า ไม่แตกต่างกันในการใช้ยาชาทั้งสองชนิด (4.56 ± 0.55 กับ 4.49 ± 0.59, p=0.44) ผู้ป่วยร้อยละ 53.5 เลือกที่จะใช้ยาชาลิโดเคนร้อยละสองผสมอะดรีนาลีน ผู้ป่วยร้อยละ 32.6 เลือกที่จะใช้ยาชาลิโดเคนความเข้มข้นร้อยละสิบผสมอีเฟดดรีนในกรณีจำเป็นต้องรับการส่องกล้องในครั้งต่อไป ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.02) ผลสรุปของงานวิจัยนี้ได้แสดงว่า ควรใช้ยาชาลิโดเคนร้อยละสองผสมอะดรีนาลีน มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับลิโดเคนร้อยละสิบผสมกับอีเฟดดรีน และยังช่วยชดเชยปัญหาการขาดแคลนยาได้ ทั้งนี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในการศึกษานี้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับแพทย์ในการส่องกล้องตรวจภายในโพรงจมูกคำสำคัญ: ลิโดเคน การส่องกล้องโพรงจมูกIn a prospective randomized study in patients undergoing nasal endoscopy, we compared the efficacy of topical anesthesia using the 2% lidocaine with adrenaline to the 10% lidocaine with ephedrine. Pledgets soaked with the anesthetics were applied to the inferior and middle meatus bilaterally in each patient. A visual analog scale (VAS) was used to measure pain level during the procedure. Points of measurement were the anterior nares, the inferior turbinates, the middle turbinates, the posterior choanae and the sphenoethmoidal recess. The cohort included 43 patients, (23 female, 20 male) with an average age of 49 years. Results: The mean VAS for the 2% lidocaine group was 3.01 +/- 2.70, for the 10% lidocaine group 3.73 +/-2.57 (p=0.05) respectively after applying the pledgets. For the endoscopic procedure, the VAS using 2% lidocaine was 4.48 +/- 2.79 vs 5.01 +/- 2.86 (p= 0.36) in the 10% group. Patients preference for the lower concentration was 53.5%, whereas only 32.6% (p=0.02) preferred the stronger concentration of lidocaine. No serious side effect was seen in both groups. Conclusion: 2% lidocaine provides adequate topical anesthetic for nasal endoscopy while reducing mucosal irritation of the mucosa compared to 10% lidocaine. This study recommended of using 2% lidocaine with adrenaline whenever 10% lidocaine is not available.Keywords: Nasal Endoscopy, LidocaineDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2012-09-12
How to Cite
Sirirattanapan, J. (2012). การใช้ยาชาลิโดเคนร้อยละสองร่วมกับอะดรีนาลินเปรียบเทียบกับลิโดเคนร้อยละสิบร่วมกับอีเฟดดรีนในการส่องกล้องโพรงจมูก (COMPARISON OF USING 2% LIDOCAIN WITH ADRENALINE TO 10% LIDOCAIN WITH EPHREDINE IN THE NASOENDOSCOPY). วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(7, January-June), 13–22. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/SWUJournal/article/view/2354
Issue
Section
บทความวิจัย